logo

Project Code

67013069RM001L0

Research team

Researchers

Co - Researcher

Project Details

Project Status

Conducting Research - 40%

Viewer: 344

Publish date26 January 2024 03:21

Project Summary

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากข้อมูลการสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติปี พ.ศ. 2556 เรื่องความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต โดยกรมสุขภาพจิต พบว่า ความชุกในช่วง 12 เดือนของความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (alcohol use disorder) เท่ากับร้อยละ 5.3 (ประชากร 2.7 ล้านคน) นอกจากนี้รายงานภาระโรคไม่ติดต่อขององค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ. 2555 พบว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกปีละประมาณ 3.3 ล้านคนหรือร้อยละ 6 และทำให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะ ร้อยละ 5 ของภาระโรคทั่วโลก แม้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีขนาดปัญหามาก แต่การรับบริการเพื่อแก้ปัญหาความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับมีน้อย ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยประสบปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอย่างมากถึงแม้จะมีบริการคัดกรอง บำบัดและฟื้นฟูผู้มีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบริการสุขภาพ แต่การเข้าถึงบริการเหล่านี้ยังมีข้อจำกัด

ประเทศไทยมีแนวทางในการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย 2 ลักษณะ ได้แก่ การให้บริการในระบบสุขภาพ และนอกระบบสุขภาพ ซึ่งการดำเนินงานโดยหน่วยงานนอกระบบสุขภาพนี้เป็นการให้บริการอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้บริการแก่ผู้มีปัญหาฯ ที่ไม่สามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลได้หรือเข้ารับบริการแล้วไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ

การบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ผ่านศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา 1413 การให้บริการทางโทรศัพท์นับเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการบริการ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสำหรับผู้ที่มีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และญาติผ่านช่องทางที่ไม่เผชิญหน้า คือ การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์อัตโนมัติ 1413 โดยใช้เทคนิคการให้การบำบัดเสริมสร้างแรงจูงใจทางโทรศัพท์ที่ดำเนินการโดยนักจิตวิทยาให้การปรึกษา

ที่ผ่านมา การให้บริการสายด่วน 1413 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. งบประมาณเหล่านี้เป็นงบประมาณรายโครงการซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของบริการ หากในอนาคต สสส. ยุติการสนับสนุนงานดังกล่าว อาจเป็นความเสี่ยงที่ประชาชนไทยไม่สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ ดังนั้น การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อประเมินประสิทธิผลของการให้บริการสายด่วน 1413 สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการให้บริการสายด่วน 1413 ในอนาคต และใช้สำหรับตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายมาตรการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคต่อไป

Documents

Activity