logo

รหัสโครงการ

11-3-095-2558

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

ดร.รุ่งนภา คำผาง

นักวิจัยร่วม

ดร. ภญ.จันทนา พัฒนเภสัช

สโรชา ชูติพงศ์ชัยวัฒน์

รศ. ดร. พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 5343 คน

วันที่เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2558 08:53

เกี่ยวกับโครงการ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เริ่มดำเนินโครงการงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (quality and outcomes framework, QOF) ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 โดยประยุกต์หลักการและแนวทางจาก QOF ของสหราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการปฐมภูมิที่จำเป็นและมีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน โดยโครงการนี้อยู่บนหลักการที่จะจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริการปฐมภูมิโดยพิจารณาคะแนนคุณภาพและผลงาน (QOF scores) ตามตัวชี้วัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้หน่วยบริการพัฒนาคุณภาพบริการและให้บริการที่ตอบสนองต่อปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ทั้งนี้ สปสช. มีนโยบายที่จะดำเนินโครงการนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้สถานพยาบาลที่เป็นผู้ให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิได้พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเห็นผลในระดับหนึ่ง โครงการ QOF ในประเทศไทยประกอบด้วยตัวชี้วัดคุณภาพ 4 ด้าน ได้แก่ 1) คุณภาพและผลงานการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2) คุณภาพและผลงานการจัดบริการปฐมภูมิ 3) คุณภาพและผลงานด้านการพัฒนาองค์กร การเชื่อมโยงบริการ ระบบส่งต่อ และการบริหารระบบ และ 4) คุณภาพและผลงานของบริการที่จำเป็นตอบสนองปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และบริการเสริมในพื้นที่ อย่างไรก็ตามปัจจุบัน ยังขาดกลไกการประเมินโครงการ QOF และตัวชี้วัดคุณภาพอย่างเป็นระบบ สปสช. จึงมอบหมายให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program, HITAP) ดำเนินการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการ QOF เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการออกแบบ และดำเนินโครงการในระยะต่อไป ซึ่งการศึกษาดังกล่าวแล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งผลการศึกษาในระยะแรกพบว่าการพัฒนาตัวชี้วัด QOF ไม่ได้มีกระบวนการที่สนับสนุนการใช้ข้อมูลหลักฐานทางวิชาการเพื่อประกอบการพัฒนาตัวชี้วัดและมิได้มีการทดสอบความเป็นไปได้ ประสิทธิภาพ และความเหมาะสมของตัวชี้วัดก่อนนำไปใช้จริง ดังนั้นการศึกษาในระยะที่ 2 นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับใช้ในโครงการ QOF ซึ่งเริ่มตั้งแต่การศึกษาประเด็นทางสุขภาพที่จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพบริการ การพัฒนาตัวชี้วัด การทดสอบตัวชี้วัดภาคสนาม รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการดำเนินโครงการ QOF ในอนาคต ติดตามงานวิจัยระยะที่ 1 ได้ที่ https://www.hitap.net/research/163354

เอกสารเพิ่มเติม

อื่นๆ

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว