logo

รหัสโครงการ

1-3-110-2559

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 4470 คน

วันที่เผยแพร่ 27 มกราคม 2560 03:57

เกี่ยวกับโครงการ

งานวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการประเมินผลของการดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพในด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยใช้กรณีศึกษามาตรการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการพัฒนาแบบจำลองเพื่อทำนายผลกระทบด้านสุขภาพจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และประเมินประสิทธิผลของมาตรการดังกล่าว ในหน่วยของปีชีวิต (Life year) ปีสุขภาวะ (Quality adjusted life year: QALY) ต้นทุนตลอดชีพ (Lifetime costs) และต้นทุนของมาตรการ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ได้แก่ การประเมินต้นทุนผลลัพธ์ (Cost-effectiveness analysis) และต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-utility analysis) โดยแบบจำลองที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้มีการปรับมาจาก Scottish Alcohol Policy Model ที่พัฒนาจากข้อมูลระดับบุคคลของประเทศสกอตแลนด์ (สหราชอาณาจักร) เพื่อทำนายผลกระทบด้านสุขภาพและต้นทุนการนอนโรงพยาบาลจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ การนอนโรงพยาบาลจากสภาวะของโรคที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเสียชีวิตทั้งจากสภาวะของโรคที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และจากสาเหตุอื่นๆ จากแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นจะนำไปใช้ในการวิเคราะห์ขั้นต่อไปโดยใช้ข้อมูลด้านระบาดวิทยา ข้อมูลต้นทุนและคุณภาพชีวิต จากการเก็บข้อมูลและจากการทบทวนวรรณกรรมของประเทศไทยเพื่อปรับแบบจำลองให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย และคำนวณผลกระทบด้านสุขภาพและต้นทุนตลอดชีพจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งผลการศึกษาจะสามารถนำไปใช้ในการประเมินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพอื่นๆ ได้ในอนาคต

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว