logo

รหัสโครงการ

30-3-111-2560

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

วันทนีย์ กุลเพ็ง

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3471 คน

วันที่เผยแพร่ 29 มีนาคม 2560 08:39

เกี่ยวกับโครงการ

โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชนิดมัยอีโลมา (Multiple myeloma, MM) เป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยพบได้ร้อยละ 1 ของมะเร็งทั้งหมด และพบเป็นร้อยละ 10 ของโรคมะเร็งโลหิตวิทยา อุบัติการณ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2554 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิง 388 และ 379 คน ตามลำดับ คิดเป็น 0.4 ต่อแสนประชากร ทั้งนี้จากการศึกษา 7 ประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศไทยพบว่า ผู้ป่วย MM ร้อยละ 25.7 ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย first-line treatment ดังนั้นจึงประมาณการได้ว่าในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือมีภาวะกลับเป็นซ้ำหรือดื้อต่อการรักษา (relapsed/refractory MM; RRMM) 197 คน/ปี การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในปัจจุบันมีหลายสูตร ซึ่งในจากแนวเวชปฏิบัติของประเทศไทยดัดแปลงจาก NCCN Guideline V.1 2011 มีสูตรที่ใช้เป็นทางเลือกในการรักษา RRMM ซึ่งประกอบด้วยยากลุ่มดั้งเดิม ได้แก่ MP (melphalan + prednisolone), VAD (vincritine + adriamycin + dexamethasone) และ dexamethasone ตัวเดียว และยากลุ่มใหม่ (Novel agent) ได้แก่ Bortezomib, thalidomide และ lenalidomide ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการบรรจุยากลุ่มดั้งเดิมในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ยา bortezomib, thalidomide และ lenalidomide ซึ่งเป็นยาที่สามารถใช้ร่วมกับยากลุ่มดั้งเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วย RRMM ในขณะนี้ยังไม่ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงมีความต้องการข้อมูลด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยา bortezomib, thalidomide และ lenalidomide เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบรรจุยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติต่อไป

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว