logo

รหัสโครงการ

62031030R1003L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ภญ.พรธิดา หัดโนนตุ่น

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3373 คน

วันที่เผยแพร่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 10:20

เกี่ยวกับโครงการ

โรค multiple sclerosis (MS) หรือชื่อไทยคือ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคปลอกประสาทอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System: CNS) แต่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น กรรมพันธุ์ ชนชาติ Epstein-Barr Virus (EBV) ระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ การสูบหรี่ เป็นต้น ความชุกของโรค MS พบมากแถบประเทศที่ไกลเส้นศูนย์สูตร ประเทศไทยพบความชุกและอุบัติการณ์ที่ 0.281 และ 0.0155 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2553 อาการแสดงของโรคมีหลากหลายขึ้นกับบริเวณที่เกิดรอยโรค (lesions) (บริเวณที่เยื่อหุ้มไมอีลินถูกทำลาย) ได้แก่ 1) ไขสันหลังอักเสบ อาการแสดงของโรค เช่น อาการชาบริเวณแขน ขา ลำตัว กล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง การควบคุมขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะผิดปกติ อาจเป็นเบ่งปัสสาวะอุจจาระไม่ออกหรือถ่ายราด กลั้นไม่อยู่ 2) ปลอกประสาทในสมองอักเสบ อาการแสดงของโรค เช่น อาการเห็นภาพซ้อน เดินเซ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก 3) เส้นประสาทตาอักเสบ อาการแสดงของโรค เช่น การมองเห็นผิดปกติ ตามัวลงอย่างเฉียบพลัน ความรุนแรงเป็นได้ตั้งแต่อาการตามัวเพียงเล็กน้อยจนถึงตาบอดมืดสนิท อาการตามัวมักเกิดขึ้นที่ตาข้างเดียวและภาพที่มองไม่ชัดมักเริ่มจากบริเวณตรงกลางของลานสายตา อาการอื่นที่พบร่วม ได้แก่ กลอกตาแล้วเจ็บภายในเบ้าตา เป็นต้น ผู้ป่วยโรค MS มีอายุขัยเฉลี่ยและคุณภาพชีวิตน้อยกว่าคนทั่วไป และผู้ป่วยมีภาวะทุพพลภาพมากขึ้นตามระยะเวลาที่เป็นโรคในด้านต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนไหว การมองเห็น และสติปัญญา ต้นทุนความเจ็บป่วย (ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางและค่าอาหารที่เพิ่มขึ้น ค่าสูญเสียรายได้และค่าเสียเวลาของผู้ป่วยและผู้ดูแล) จากการศึกษาใน 17 ประเทศมีค่าประมาณ 450,000 – 2,700,000 บาทต่อ 1 รายในปี พ.ศ. 25543 ปัจจุบันยาปรับภูมิคุ้มกันสำหรับรักษาผู้ป่วย MS ยังไม่บรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านงบประมาณในการรักษาผู้ป่วย relapsing-remitting multiple sclerosis ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการรักษาผู้ป่วย relapsing-remitting multiple sclerosis เพื่อประกอบการพิจารณาบรรจุยาเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติและคาดการณ์ผลกระทบด้านงบประมาณที่จะเกิดขึ้นหากมีการบรรจุยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ อีกทั้ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นอย่างทั่วถึงโดยไม่เป็นปัญหาต่อความมั่นคงด้านการเงินของกองทุนประกันสุขภาพ

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว