logo

รหัสโครงการ

64153002RM014L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

อยู่ระหว่างการทำวิจัย - 60%

จำนวนผู้เข้าชม: 1292 คน

วันที่เผยแพร่ 7 กรกฎาคม 2564 02:55

เกี่ยวกับโครงการ

กระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วยหลายขั้นตอน ตั้งแต่การรับฟังความเห็นและข้อเสนอจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดประเด็นหัวข้อบริการสุขภาพและ/หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและความจำเป็นด้านสุขภาพ การรวบรวมข้อมูลและการศึกษาทางวิชาการ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเข้าสู่การตัดสินใจในการปรับปรุงหรือขยายสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามความจำเป็นด้านสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนผู้มีสิทธิ สถานการณ์และปัญหาจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ความท้าทายสำคัญ คือ 1) ระบบวิจัยสุขภาพไทยยังขาดนักวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ทำให้มีหัวข้อวิจัยอีกจำนวนมากสะสมมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560-2563 ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปดำเนินการศึกษาวิจัยจนได้ข้อเสนอโครงการ ซึ่งส่งผลให้สูญเสียโอกาสสำคัญทางนโยบายที่ยังไม่ตัดสินใจหรือชะลอออกไปในหลายเรื่อง เนื่องจากขาดองค์ความรู้จากการประเมินที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจ และ 2) เมื่อการศึกษาวิจัยแล้วเสร็จ ขั้นตอนต่อไป คือการนำเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการ หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะพบปัญหาและอุปสรรค กล่าวคือ ทีมวิจัยขาดประสบการณ์การวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ทำให้เกิดข้อคำถามของผลการศึกษาที่ยังไม่ครอบคลุมในบางประเด็น หรือไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับผู้กำหนดนโยบายกำหนด ทำให้งานวิจัยถูกชะลอการพิจารณาหรือไม่พิจารณาผลการศึกษานั้น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาสิทธิประโยชน์ ในการรอให้ทำการศึกษาเพิ่มเติมแล้วจึงกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีคุณภาพ และการพัฒนาศักยภาพทั้งจำนวนและคุณภาพของนักวิจัยทางด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ สวรส. และ สปสช. เห็นร่วมกันว่าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) โดยโครงการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือโครงการ UCBP มีประสบการณ์ทางการวิจัยและการพัฒนานักวิจัยทางด้านนี้มาเป็นเวลานาน จะสามารถเข้ามาช่วยดำเนินการในการประสานนักวิจัยที่มีประสบการณ์ ซึ่งอาจจะเป็นนักวิจัยทั่วไป ที่มีความสนใจเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถนำผลการศึกษาไปตัดสินใจในเชิงนโยบายได้ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มเครือข่ายนักวิจัยทางด้านนี้ วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อเพิ่มเครือข่ายนักวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่สามารถจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายได้