logo

รหัสโครงการ

64091002RM017L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ศ.กิตติคุณ นพ.เกรียง ตั้งสง่า

ภญ. จุฑาทิพ เลาหเรืองชัยยศ

ภก. ธนกฤต มงคลชัยภักดิ์

ภญ. ธนิศา ทาทอง

Dr. Ryota Nakamura

Dr. Wee Hwee Lin

Dr. Lou Jing

Chua Hui Lan

Myka Harun Sarajan

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 1387 คน

วันที่เผยแพร่ 15 สิงหาคม 2564 06:04

เกี่ยวกับโครงการ

การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (เช่น การประเมินต้นทุนประสิทธิผล (cost-effectiveness analysis: CEA) และการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ (cost-utility analysis: CUA) เป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายในการจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพที่เหมาะสม (1) ซึ่งการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเป็นการคำนวณต้นทุนและผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นจากยาใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับยาเดิม และแสดงผลการประเมินในรูปแบบอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม(incremental cost-effectiveness ratio: ICER) ที่สามารถแสดงให้เห็นว่าการใช้ยาใหม่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นกี่บาทเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย ซึ่งการพิจารณาว่ายานั้นมีความคุ้มค่าหรือไม่ พิจารณาได้จากการมี ICER ที่ต่ำกว่าเพดานความคุ้มค่า (cost-effectiveness threshold: CET) ของประเทศ ดังนั้น เพดานความคุ้มค่าจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้พิจารณาว่ายารายการใดสมควร / ไม่สมควรบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งการกำหนดเพดานความคุ้มค่าที่สูงอาจส่งผลให้รายการยาที่มีความคุ้มค่ามีจำนวนมากขึ้นและเพิ่มภาระงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศมากขึ้นเมื่อเทียบกับการกำหนดเพดานความคุ้มค่าที่ต่ำกว่า สหราชอาณาจักรและประเทศไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีการกำหนดเพดานความคุ้มค่าไว้อย่างชัดเจนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยหน่วยงาน National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ของสหราชอาณาจักร ได้กำหนดเพดานความคุ้มค่าไว้ที่ 20,000 - 30,000 ต่อปีสุขภาวะ ตั้งแต่ปี 1999 และไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงเพดานความคุ้มค่าแม้แต่ครั้งเดียว (2) สำหรับประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพดานความคุ้มค่าที่ใช้ในการพิจารณาบัญชียาหลักแห่งชาติจำนวน 3 ครั้งในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการกำหนดเพดานความคุ้มค่าไว้ที่ 100,000 บาทต่อปีสุขภาวะ ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 120,000 บาทต่อปีสุขภาวะในปี พ.ศ. 2553 และปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งเป็น 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นเกณฑ์ความคุ้มค่าที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น แม้ว่ามีหลายประเทศที่กำหนดเพดานความคุ้มค่าไว้อย่างชัดเจน แต่มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่มีการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าด้วยเหตุนี้ จึงเกิดคำถามว่า การเพิ่มเพดานความคุ้มค่าดังกล่าวมีผลต่อภาระ งบประมาณด้านสุขภาพของประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของราคายาหรือไม่ อย่างไร

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว