logo
Download ดาวน์โหลด 1004 ครั้ง
เข้าชม 1483 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

Abstract
Effectiveness and cost-effectiveness of the population-based prostate cancer screening
Tosanguan K*, Teerawattananon Y**Health Intervention and Technology Assessment Program
Prostate cancer is a common malignancy in elderly men in western countries. It is the leading cause of mortality and morbidity worldwide. Two main tools for screening, digital rectal examination (DRA) and prostate-specific antigen (PSA), are still controversial with regards to effectiveness and cost-effectiveness. The study aimed to examine whether screening for prostate cancer reduces prostate cancer specific mortality and all-cause mortality and whether population-based screening for prostate cancer is cost-effective. Literature search of randomized controlled trials (RCTs) and economic evaluation articles was conducted through Medline and Cochrane library to assess the effectiveness and cost-effectiveness of the prostate cancer screening. Five RCT with a total of 321,644 participants were included in this review. The meta-analysis showed no statistically significant differences in prostate cancer-specific mortality and all causes mortality between screening and no -screening groups. Relative risks for mortality from prostate cancer and all cause mortality were 0.99 (95%CI; 0.83-1.17) and 0.98 (95%CI; 0.97-1.00) respectively. Nor was screening found to be cost-effective.
มะเร็งต่อมลูกหมากพบบ่อยในชายสูงอายุแถบประเทศตะวันตก การตรวจคัดกรองมี ๒ วิธีหลัก คือ การตรวจทางทวารหนัก และการตรวจเลือดหาสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก PSA ปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงเรื่องประโยชน์ โทษ และความคุ้มค่าของการคัดกรอง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาหลักฐานด้านประโยชน์ของการคัดกรองโดยวิธีทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานในกลุ่มประชากรทั่วไป จากฐานข้อมูล Medline และ Cochrane library การศึกษาประสิทธิผลมีทั้งหมด ๕ การศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด ๓๒๑,๖๔๔ ราย การคัดกรองและไม่คัดกรองไม่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมากทุกกลุ่มอายุหรือรายอายุ (ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์เท่ากับ ๐.๙๙ ช่วงความเชื่อมั่นที่ ๙๕% เท่ากับ ๐.๘๓ – ๑.๑๗) และไม่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการลดอัตราการเสียชีวิตจากการตายทุกสาเหตุ (ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์เท่ากับ ๐.๙๘ ช่วงความเชื่อมั่นที่ ๙๕% เท่ากับ ๐.๙๗ – ๑.๐๐) การศึกษาต้นทุนอรรถประโยชน์ของการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากไม่พบความคุ้มค่า
ลิงก์ดาวน์โหลดบทความ : http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3954?show=full

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง