logo

รหัสโครงการ

01-306-2550

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

-

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3610 คน

วันที่เผยแพร่ 1 ธันวาคม 2554 15:11

เกี่ยวกับโครงการ

ความพิการทางการได้ยินส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ที่สูญเสียการได้ยินซึ่งบางครั้งอาจเป็นภาระต่อตนเองและครอบครัว เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นคนพิการและได้รับการจดทะเบียนคนพิการ ผู้พิการจะได้รับสิทธิประโยชน์ โดยการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐทั้งในด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านสังคมและด้านอาชีพ ซึ่งได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษา สังคมสงเคราะห์ และสังคมบำบัด การแก้ไขการพูด การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินและการสื่อความหมาย รวมถึงการให้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) ซึ่งจะช่วยให้เด็กหูตึงเข้าใจภาษาพูด หัดพูดได้ และสามารถพูดคุยกับเด็กทั่วไป อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นคนหูหนวกนั้น การใส่เครื่องช่วยฟังจะช่วยเพียงการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การฟังเสียงแตรรถบนท้องถนน แต่ไม่สามารถใช้ในการสื่อสารได้ ปัจจุบันมีการพัฒนาทางเลือกใหม่ของผู้ที่สูญเสียการได้ยินระดับหูหนวกคือ การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม(cochlear implantation) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่อาศัยหลักการของการกระตุ้นเส้นประสาทการรับเสียงภายในหูชั้นในด้วยกระแสไฟฟ้า

การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตในแง่ของการได้ยิน การพูด การเปลี่ยนโรงเรียน การสื่อสาร และการกลับเข้าทำงานได้ตามปกติ นอกจากนี้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมยังลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในเด็กหูหนวกอีกด้วย เทคโนโลยีการฝังประสาทหูเทียมมีราคาแพงและยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงยังมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและดูแลหลังจากผ่าตัดอีก ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด หรือบางคนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่ตนเองทำงานอยู่ จึงมีผู้ป่วยที่หูหนวกและผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อผ่าตัดเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เองได้ นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษาเรื่องความคุ้มค่าในการนำเทคโนโลยีประสาทหูเทียมมาใช้ในประเทศไทย ดั้งนั้นจึงควรมีการศึกษาเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการผ่าตัดประสาทหูเทียมในผู้ที่หูหนวก รวมถึงผลกระทบในเชิงงบประมาณและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานและการกระจายเทคโนโลยีการฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของผู้บริหาร ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อระบบสุขภาพของประเทศต่อไป

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว