logo

รหัสโครงการ

65043002RM005L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รศ. ดร. พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี

รายละเอียดโครงการ

ยุทธศาสตร์
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานสนับสนุน
Country

ระยะเวลาโครงการ

เริ่ม: 1 มีนาคม 2565
สิ้นสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2566

ติดต่อ

สถานะงานวิจัย

ตรวจสอบผลวิจัย - 80%

จำนวนผู้เข้าชม: 1407 คน

วันที่เผยแพร่ 4 พฤษภาคม 2565 14:08

เกี่ยวกับโครงการ

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทยพบได้ประมาณ 34-40 รายต่อประชากรเพศหญิง 100,000 คน เมื่อปี พ.ศ. 2563 พบอุบัติการณ์โรคมะเร็งเต้านมรายใหม่ 37.8 ต่อหญิงไทย 100,000 คน นับเป็นจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 22,158 คน หรือร้อยละ 22.8 ของผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งทั้งหมด การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมสามารถทำได้หลายวิธี คือ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การตรวจเต้านมโดยแพทย์ และการตรวจแมมโมแกรม จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมาณพบว่า การคัดกรองด้วยแมมโมแกรมเป็นเพียงวิธีเดียวที่พบว่า ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ โดยสามารถลดความเสี่ยงได้ประมาณร้อยละ 20 และการตรวจแมมโมแกรมพร้อมด้วยอัลตราซาวด์สามารถเพิ่มความไวในการตรวจพบมะเร็งเต้านมในหญิงที่มีเนื้อเยื่อเต้านมแน่น (dense breast) จึงนับเป็นวิธีที่เหมาะกับการคัดกรองในหญิงไทย เพราะมีการศึกษาพบว่าหญิงไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 35-54 ปีมีเนื้อเยื่อเต้านมแน่น แต่ในประเทศไทยพบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม และสิทธิประโยชน์สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมในกลุ่มหญิงที่มีความเสี่ยงสูงกำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในต่างประเทศโดยได้มีการพัฒนาแบบจำลอง (risk  prediction model) เพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งแบบจำลองต่างๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นจากการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็งเต้านม เช่น อายุ และประวัติครอบครัวที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ในประเทศไทยมีการสร้างแบบจำลองเพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทย โดยแบบจำลองที่พัฒนาจากข้อมูลในประเทศไทยมีความสามาถในการจำแนกผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมและไม่เป็นมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่า C-statistic อยู่ที่ 0.651 ดังนั้น การตรวจคัดกรองในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งเต้านม น่าจะมีความคุ้มค่ามากกว่าการตรวจคัดกรองในผู้หญิงทั่วไปในบริบทของประเทศไทย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมพร้อมด้วยอัลตราซาวด์ในกลุ่มผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งเต้านม รวมถึงการประเมินภาระงบประมาณและการศึกษาความเป็นไปได้ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงในประเทศไทย โดยผลของการศึกษานี้จะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาบรรจุการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เข้าในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยต่อไป