logo
PB การรักษาโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน
Download ดาวน์โหลด 1463 ครั้ง
เข้าชม 2791 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

โรคกระดูกพรุนพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน และเป็นหนึ่งใน       สาเหตุสําคัญที่ทําให้กระดูกหักแม้ได้รับแรงกระแทกที่ไม่รุนแรง เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการใช้ยาเพื่อชะลอการสูญเสียมวลกระดูกหรือการเสริมสร้างมวลกระดูก ช่วยลดโอกาสเกิดกระดูกหักที่อาจตามมาได้ พร้อมทั้งแนะนําให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมมาก ๆ เช่น นม งา ผักต่าง ๆ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมและวิตามินดี ยารักษาโรคกระดูกพรุนเป็นยาที่ค่อนข้างแพงและยังไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพของภาครัฐ ผลการประเมินความคุ้มค่าพบว่า การคัดกรองโรคกระดูกพรุนด้วยดัชนีคัดกรองความเสี่ยงมีความคุ้มค่าเมื่อคัดกรองผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป พร้อมทั้งรักษาด้วยยา alendronate มีความคุ้มค่ามากที่สุด อย่างไรก็ตามการรักษาดังกล่าวมีภาระงบประมาณต่อภาครัฐเป็นจํานวนมาก ดังนั้นจึงควรมีการกําหนดเกณฑ์การรักษาในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อกระดูกหักเป็นลําดับแรก

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง