logo
Download ดาวน์โหลด 2804 ครั้ง
เข้าชม 12021 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุกำลังเพิ่มสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2553 จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปีทั่วโลกอยู่ที่ 524 ล้านคนหรือประมาณ 8% ของประชากรทั้งโลก แต่คาดการณ์ว่าจำนวนผู้สูงอายุน่าจะเพิ่มเป็น 1,500 ล้านคนทั่วโลกในปี พ.ศ. 2593 ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีจำนวน 9,928,000 คน ซึ่งคิดเป็น 18% ของประชากรไทยทั้งหมด การหกล้มเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุ จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า ในแต่ละปีอุบัติการณ์ ของการหกล้มในผู้ที่อายุมากกว่า 65 และ 85 ปีสูงถึง 30% และ 50% ตามลำดับ และพบการบาดเจ็บที่เกิดจากการหกล้มได้ประมาณ 12% ถึง 42% ซึ่งการบาดเจ็บอาจจะเป็นได้ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ แผลถลอก หรือแผลฉีกขาดซึ่งพบได้ประมาณ 44% จากการหกล้ม ในขณะที่ 4-5% ของการหกล้ม จะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงเช่นกระดูกสะโพกหรือกระดูกข้อมือหัก หรือเลือดออกในสมอง ซึ่งการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการหกล้มเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิตและทุพลภาพในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่เคยหกล้มจะเกิดความกลัวที่จะหกล้มอีก จึงหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมและการเข้าสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง และเกิดการแยกตัวออกจากสังคมตามมา จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการหกล้ม เป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง นอกจากนี้ยังเพิ่มภาระให้ญาติและคนในครอบครัว ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิด การหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จึงเป็นมาตรการที่สำคัญที่จะป้องกันการพิการ ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเอง และลดภาระของญาติและคนในครอบครัว

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง