logo

รหัสโครงการ

62155010A2012F6

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 2059 คน

วันที่เผยแพร่ 11 มิถุนายน 2563 07:14

เกี่ยวกับโครงการ

การดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance, AMR) เป็นปัญหาสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื้อยาเป็นภัยคุกคามต่อการรักษาโรคติดเชื้อ เนื่องจากยาต้านจุลชีพที่มีอยู่จะลดประสิทธิผลลง ผู้ป่วยอาจต้องเปลี่ยนไปใช้ยาราคาแพงขึ้นและรับการรักษาในสถานพยาบาลเป็นเวลายาวนานกว่าเดิม หรือในบางกรณีอาจทำให้การรักษาโรคติดเชื้อเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบการดื้อยาจากการใช้ยาต้านจุลชีพในการดูแลสุขภาพสัตว์ ปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างกว้างขวาง และต้องการการจัดการโดยความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพระหว่างหน่วยงานในหลายภาคส่วน สำหรับประเทศไทยนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนได้ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ พ.ศ. 2560-2564 มุ่งให้การป่วย การตาย และการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเชื้อดื้อยาลดลง โดยดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่ การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาลและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง การส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน และการบริหารและพัฒนากลไกระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์นี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 โดยมีการกำหนดและมอบหมายหน่วยงานให้ประสานการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์แต่ละด้าน ต่อมาในปี 2562 ซึ่งมีการดำเนินงานตามแผนฯ มาแล้วเป็นเวลากว่า 2 ปี จึงสมควรประเมินความก้าวหน้าและผลที่เกิดขึ้นในลักษณะของการทบทวนครึ่งแผน (mid-term review) เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนานโยบายและปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไป

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว