logo

รหัสโครงการ

64181002RM012L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 1390 คน

วันที่เผยแพร่ 1 ธันวาคม 2564 06:33

เกี่ยวกับโครงการ

โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก หรือ juvenile idiopathic arthritis (JIA) เป็นการรวมกันของข้ออักเสบที่มีลักษณะแตกต่างกันซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก่อนที่ผู้ป่วยจะอายุครบ 16 ปี เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ โรค JIA สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่ไม่มีอาการทาง systemic (non-systemic juvenile idiopathic arthritis; Non-sJIA) และกลุ่มที่มีอาการทาง systemic (systemic juvenile idiopathic arthritis; sJIA) ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มในสัดส่วนร้อยละ 66.2 และ 33.8 ตามลำดับ สำหรับแนวทางการรักษาโรค JIA ในประเทศไทย ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) ยาสเตียรอยด์ทั้งชนิดฉีดและรับประทาน (systemic corticosteroids) และยาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรครูมาตอยด์ที่ไม่ใช่สารชีวภาพ (non-biologic disease-modifying antirheumatic drugs; DMARDs) เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคดังกล่าวและครอบคลุมโดยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมถึงบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้มีข้อจำกัดในด้านประสิทธิผล กล่าวคือ ยากลุ่ม NSAIDs มีผลเพียงบรรเทาอาการชั่วคราว จึงต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วย JIA เพียง 25%-33% เท่านั้น ที่ตอบสนองต่อยากลุ่ม NSAIDs และโดยมากเป็นผู้ป่วย JIA ชนิด oligoarthritis สำหรับยาในกลุ่ม corticosteroids มีข้อจำกัดในเรื่องของผลข้างเคียงที่รุนแรงเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น การกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppression) การเจริญเติบโตช้า (growth retardation) ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) ความดันโลหิตสูง ต้อกระจก (cataracts) และผลทางเมตาบอลิก (metabolic effects) ขณะที่ยากลุ่ม non-biologic DMARDs มีประสิทธิผลค่อนข้างจำกัด ปัจจุบันกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาโรค JIA มีความเกี่ยวข้องกับยาชีววัตถุ (biologics) ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น interleukin-1 (IL-1) receptor antagonists, interleukin-6 (IL-6) receptor antagonists, TNF-α inhibitors และ T-cell co-stimulation modulator เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาชีววัตถุหลายชนิดยังค่อนข้างจำกัด ขณะที่ราคายาค่อนข้างสูง อีกทั้ง ในบริบทของประเทศไทยจำเป็นต้องมีการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ยาชีววัตถุรักษาโรค JIA เพื่อประกอบการตัดสินใจพิจารณายาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ จึงเป็นที่มาของหัวข้อการวิจัยดังกล่าว

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว