logo

รหัสโครงการ

66013002RM001L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

อยู่ระหว่างการทำวิจัย - 50%

จำนวนผู้เข้าชม: 1954 คน

วันที่เผยแพร่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 08:43

เกี่ยวกับโครงการ

กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยและองค์การอนามัยโลก ได้จัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและองค์การอนามัยโลก (WHO Country Cooperation Strategy: WHO-CCS) เพื่อกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกัน โดยได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการกำกับทิศแผนงาน Convergence of Digital Health Platforms and Health Information Systems (HIS) Implementation in Thailand (ConvergeDH) อีกทั้ง ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 5 แผนงานหลัก ดังนี้ 1) แผนงานที่ 1: Landscape analysis ของ Digital Health และ HIS 2) แผนงานที่ 2: การจัดทำมาตรฐานข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล (standards and interoperability) 3) แผนงานที่ 3: การจัดการและปกป้องข้อมูลภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act (PDPA)) 4) แผนงานที่ 4: การสำรวจและศึกษาเรื่อง Open Data Policy และ 5) แผนงานที่ 5: การสำรวจและศึกษาเรื่อง virtual hospitals และ telemedicine ในประเทศไทย

ในแผนงานที่ 5 นี้ WHO-CCS ได้ตั้งเป้าหมายการดำเนินงานในเชิงสำรวจและศึกษาเรื่อง โรงพยาบาลบนโลกออนไลน์ (virtual hospitals) และการแพทย์ทางไกล (telemedicine)  เพื่อศึกษาถึงข้อดีข้อเสียและประเมินความเหมาะสมของการนำไปใช้ของระบบ telemedicine ในประเทศไทย ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรม การสำรวจและรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในปีแรก WHO-CCS ได้ริเริ่มการศึกษาถึงนิยามของสาธารณสุขบนโลกดิจิทัลและระบบการแพทย์ทางไกล รวมถึงพัฒนากรอบการติดตามและประเมินผลระบบการให้บริการการแพทย์ทางไกล ในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ในปีที่ 2 ของแผนงานที่ 5 โครงการ WHO-CCS ได้วางแผนทำการศึกษารายกรณี (case study) การพัฒนาและใช้งานระบบการแพทย์ทางไกล ของสถานพยาบาลในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิ ระดับทุติยภูมิ และระดับปฐมภูมิ รวมถึงศึกษาสถานการณ์และผลกระทบจากการใช้บริการการแพทย์ทางไกลของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Coverage Scheme: UCS) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการศึกษาระบบการแพทย์ทางไกลและเกิดความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติที่ดี (best practice) ของระบบการแพทย์ทางไกล และทราบถึงปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคของการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลในโลกแห่งความเป็นจริง รวมถึงแนวทางการติดตามและประเมินผลที่เหมาะสมกับประเทศไทย

ทั้งนี้ ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การแพทย์ทางไกลในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการพัฒนาได้แก่ 1) บริบทด้านสาธารณสุขบนโลกดิจิทัล (digital health) ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง 2) เนื่องจากเป็นระบบที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก ทำให้การร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นเรื่องที่ท้าทาย และ 3) ข้อจำกัดการเข้าถึงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน อีกทั้ง ในปัจจุบันบริการด้านสาธารณสุขบนโลกดิจิทัลถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ยังคงขาดแผนการติดตามและประเมินผล (M&E) ที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กระบวนการ และแนวทางการรายงานผล รวมถึงข้อบังคับทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ความซับซ้อนและพลวัตของระบบและเทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การใช้งานในทางปฏิบัติและการติดตามประเมินผลเป็นไปได้ยาก ดังนั้น การทำความเข้าใจกับความท้าทายที่ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยเผชิญในขณะที่กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการแพทย์ทางไกลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลอย่างยั่งยืนในประเทศไทยซึ่งเป็นที่มาของการดำเนินโครงการวิจัยนี้

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว