logo

https://www.hitap.net

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
Talk to the press: ยารักษาไวรัสตับอีกเสบซี ยาที่ใช้อยู่ vs. ยาใหม่ ยาไหนประสิทธิภาพดีกว่ากัน

Direct-acting Antiviral Agents (DAAs) ยาใหม่กับการรักษาไวรัสตับอักเสบซีจีโนไทป์ 1

รายงานจาก WHO พบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 1.4 ล้านคนทุกปี โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิดอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อทันทีหรือเรื้อรัง และบางชนิดอาจนำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับได้โดยเฉพาะชนิดบีและซี สำหรับไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีน จึงเน้นที่การป้องกัน วินิจฉัย และรักษาเท่านั้น
ปัจจุบันในการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอีกเสบซี การใช้ยา Pegylated-interferon (เพ็คกิเลตอินเตอร์เฟอรอน) ร่วมกับ Ribavirin (ไรบาวิริน) เรียกรูปแบบการใช้ยาว่า PR ถูกใช้เป็นยาสูตรมาตรฐานในการรักษาไวรัสตับอักเสบซี การรักษาดังกล่าวเป็นแบบยาฉีดที่ต้องใช้เวลาในการรักษา 48 สัปดาห์ ค่ายาโดยประมาณเข็มละ 3,000 บาท การรักษาทั้งคอร์สตกราว 150,000 ต่อคน อย่างไรก็ตามพบว่าวิธีการรักษาดังกล่าวเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามาก เช่น มีอาการโลหิตจาง เหนื่อยล้า และผลข้างเคียงที่อันตรายอื่น ๆ อีกทั้งพบว่าผู้ป่วยจีโนไทป์ 1 ซึ่งเป็นจีโนไทป์ที่พบมากที่สุดมีการตอบสนองต่อยา PR น้อย

ปัจจุบันมียากลุ่มใหม่เรียกว่า Direct-acting Antiviral Agents (DAAs) ซึ่งเป็นยาที่ไปยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จึงทำให้มีประสิทธิผลสูงกว่าและพบอาการข้างเคียงน้อยกว่า โดยยาดังกล่าวเป็นยากิน ซึ่งใช้ระยะเวลาในการรักษาเพียง 12 สัปดาห์ ได้ถูกนำมาพิจารณาสำหรับแนวทางการรักษาในอนาคตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทั้งนี้การรักษาดังกล่าวเป็นการใช้ยาร่วมกัน

ยา Sofosbuvir [โซฟอสบูเวีย] ที่กำลังเป็นข่าว เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร
โซฟอสบูเวียไม่ใช่ยาเดี่ยวที่ใช้รักษาไวรัสตับอีกเสบซี แต่ใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ เพื่อรักษาไวรัสตับอักเสบซี หรือเรียกว่าการรักษาด้วยยากลุ่ม Direct-acting Antiviral Agents (DAAs) เป็นการรักษาด้วยยากิน ซึ่งต้องรักษาด้วยยากลายขนานร่วมกัน เช่น
• Sofosbuvir [โซฟอสบูเวีย] ร่วมกับ Ledipasvir [เลดิพาสเวียร์],
• Sofosbuvir [โซฟอสบูเวีย] ร่วมกับ Daclatasvir [ลาคาทาสเวียร์]
• Sofosbuvir [โซฟอสบูเวีย] ร่วมกับ Simeprevir [ไซมิพรีเวียร์]

HITAP ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจากงานวิจัยทั่วโลกทั้งสิ้น 846 การศึกษา โดยเปรียบเทียบผลการรักษาของการใช้ยาแบบต่าง ๆ 2 แบบหลัก คือ PR based (การใช้ยาสูตรมาตรฐาน และการใช้ยาสูตรมาตรฐานร่วมกับกลุ่มยาใหม่) และ Non PR based (การใช้ยาสูตรใหม่ที่มียากลุ่ม Direct-acting Antiviral Agents (DAAs) เป็นองค์ประกอบ)

ผลการศึกษา

จากการประเมินผลการศึกษาหลายงานวิจัย พบว่าการตอบสนองการรักษาของผู้ป่วยโดยวัดจากปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดภายหลังการรักษาเสร็จสิ้นไปแล้ว 12 สัปดาห์ และประเมินอาการข้างเคียงของยาที่ส่งผลต่อปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำ (Anemia) เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาสูตรมาตรฐาน พบว่ายากลุ่ม Direct-acting Antiviral Agents (DAAs) มีประสิทธิผลสูงกว่าและพบอาการข้างเคียงน้อยกว่า Pegylated-interferon และ Ribavirin (PR) ซึ่งเป็นยาสูตรมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ในแง่ของการเกิดอาการข้างเคียงพบว่ายาสูตรที่ไม่มี PR เป็นองค์ประกอบก่อให้เกิดอาการข้างเคียงน้อยกว่ายาสูตรที่มี PR เป็นองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

อย่างไรก็ตามยากลุ่ม DAAs ยังคงมีราคาแพงเนื่องจากเป็นยาใหม่ ซึ่งมีผลต่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วย ดังนั้นในการพิจารณาตัดสินใจหาทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมในอนาคต จึงควรทำการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของแนวทางการรักษาไวรัสตับอักเสบซีต่อไป

HITAP กำลังเริ่มดำเนินโครงการศึกษาความคุ้มค่าของการใช้ยากลุ่ม DAAs ต่อการรักษาไวรัสตับอักเสบซี ผลการวิจัยคาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ สามารถติดตามความก้าวหน้างานวิจัยได้ที่ www.hitap.net

///////////////////////////////////////////////////////////////////////

ผู้ให้สัมภาษณ์

  1. พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี อาจารย์ประจำที่ภาควิชาเวชศาตร์ครอบครัว รพ.รามาธิบดี และนักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) [[email protected]]
  2. ภญ.ธันธิมา สุวรรณถาวรกุล นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) [[email protected]]

 

ติดต่อ

ชลัญธร โยธาสมุทร เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)

อีเมล [email protected]

โทร 02-590-4549

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP เป็นหน่วยงานวิจัยไม่แสวงหากำไร ภายใต้สำนักนโยบายและยุทธ์ศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 มีพันธกิจหลักคือทำวิจัยประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสาธารณสุข ศึกษาผลกระทบทั้งบวกและลบจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้กำหนดนโยบายใช้ในการตัดสินใจลงทุนด้านสุขภาพของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการประเมินที่ HITAP ทำครอบคลุมเรื่อง ยา เครื่องมือแพทย์ หัตถการ มาตรการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทั้งส่วนบุคคลและสังคม รวมถึงนโยบายสาธารณะอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้ HITAP ยังทำงานในระดับนานาชาติ โดยเน้นการสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศกำลัง

เอกสารดาวน์โหลด

Fact Sheet ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี27 กรกฎาคม 2024Download
25 พฤษภาคม 2558

Next post > Fact sheet: การประเมินความเป็นไปได้ของมาตรการตรวจคัดกรองมะเร็งช่องปากในชุมชน

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญโรคหืดในเด็ก ร่วมพัฒนาแนวทางการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม

Related Posts