logo

รหัสโครงการ

61123-002R1-011L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

ดร.รุ่งนภา คำผาง

ดร. ภญ.นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร

นักวิจัยร่วม

ดนัย ชินคำ

ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3054 คน

วันที่เผยแพร่ 16 ตุลาคม 2561 07:56

เกี่ยวกับโครงการ

เชื้อไวรัสเอชไอวี (Human immunodeficiency Virus; HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดจากเพศสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome; AIDS) ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายกว่าคนปกติ ปัจจุบันมีข้อมูลผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เฉลี่ยประมาณ 1.8 ล้านคน จากการคาดประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีระหว่าปี พ.ศ.2548 ถึง พ.ศ.2568 คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ค่อนข้างสูงมากในประชากรหลักสำคัญบางกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีการฉีด ปัญหาการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ของกลุ่มประชากรเสี่ยงในประเทศไทยไม่ใช่ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น แต่ทำให้เกิดความสูญเสียของสุขภาพจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการเจ็บป่วย ทำให้สูญเสียประชากรที่เป็นกำลังของประเทศชาติไป ในปี พ.ศ. 2558 พบว่ารายจ่ายในการดำเนินการด้านโรคเอดส์ของประเทศไทยเป็นเงิน 8,248 ล้านบาท โดยเป็นรายจ่ายสำหรับการดูแลรักษาพยาบาลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.9 และรายจ่ายสำหรับแผนการป้องกันประชากรหลักที่ติดเชื้อสูง 3 กลุ่ม คือ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานบริการ และผู้ใช้สารเสพติด เป็นเงิน 167 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11 ของงบประมาณสำหรับป้องกันโรค หากโครงการดำเนินการด้านเอดส์ไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค ในอนาคตจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้มีผู้เข้ารับยาต้านไวรัสเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการเพิ่มรายจ่ายในการดำเนินการด้านโรคเอดส์ การให้บริการป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-exposure prophylaxis; PrEP) ในกลุ่มประชากรหลักที่มีความเสี่ยงสูง เป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันการติดเชื้อใน Comprehensive package of interventions ขององค์การอนามัยโลกในปี 2016 ซึ่งเป็นการให้ยาต้านไวรัส Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) และ Emtricitabine (FTC) โดยการเข้าถึงยา PrEP ในประเทศไทยยังจำกัดอยู่ในรูปแบบของโครงการวิจัยหรือโครงการนำร่องในกลุ่มประชากรหลักที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงของการติดเชื้อเอชไอวี ขณะนี้ยา PrEP ยังไม่ถูกบรรจุในสิทธิประโยชน์ของสิทธิการรักษาใด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์บริการ PrEP ซึ่งครอบคลุม การเบิกจ่ายยาต้านไวรัส และการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางการคัดเลือกหัวข้อและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ของคณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งในปี 2560 หัวข้อนี้ได้รับการคัดเลือกเพื่อประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HTA) สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบรรจุบริการดังกล่าวในชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งขอบเขตของการประเมินจะมุ่งเน้นที่การประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขและความเป็นไปได้ของการขยายบริการ PrEP ในระดับประเทศ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการขยายบริการ รูปแบบการให้บริการ ต้นทุน ต้นทุนต่อหน่วยของการให้บริการ ประสิทธิผล และประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขของการให้บริการ PrEP ในบริบทของประเทศไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณของการให้บริการ PrEP

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว