logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
นายกฯ ประชุมบอร์ด สสส.อนุมัติ 50 ล.รับมือภัยพิบัติระยะยาว

Link: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000164757

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทั้งนี้ ได้มีวาระการพิจารณาที่สำคัญคือ แนวทางช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของประเทศ ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมาได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก ซึ่งการดำเนินงาน ที่ผ่านมา สสส.ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนคือ การขยายเวลาและผ่อนปรนการจัดกิจกรรมและการใช้จ่ายเงินในโครงการที่ได้รับผลกระทบ ร่วมฟื้นฟูและให้กำลังใจโดยรวบรวมเงินบริจาคและการรับสมัครในงานวิ่งยูเอ็นเดย์ จำนวน 1.6 ล้านบาท ผ่านมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) การสนับสนุนน้ำดื่มในพื้นที่ประสบภัย ระดมอาสาสมัครภาคประชาชนเข้าให้การช่วยเหลือ พร้อมกับจัดทำคู่มือป้องกันและแนะนำการดูแลตนเองจากภัยพิบัติน้ำท่วมตามพื้นที่ประสบภัย

ทพ.กฤษดา กล่าวว่า สถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม เป็นผลสืบเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลกที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้น ที่ประชุมจึงได้อนุมัติแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อเตรียมความพร้อมในระยะยาว จำนวน 50 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรการที่สำคัญ คือ 1.มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม โดยแผนเปิดรับทั่วไปได้เปิดรับโครงการอาสา สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานอาสาสมัครบำเพ็ญประโยชน์เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัย และการสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อพัฒนางานฟื้นฟูภัยพิบัติโดยให้ชุมชนที่ประสบภัยเป็นแกนหลักในพื้นที่ต่างๆ ร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเตรียมการป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดในอนาคตทั้งในระดับจังหวัด และในระดับชุมชน

ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า 2.มาตรการสนับสนุนต่อเนื่อง คือ การสนับสนุนจัดตั้งเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคประชาชน มีกระบวนการจัดการความรู้ และจัดการเครือข่ายเพื่อพัฒนาโครงสร้างอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติภาคประชาชนอย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยและในโลก รวมถึงการประมวลและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติของภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ3. มาตรการสนับสนุนการพัฒนาระบบและองค์ความรู้ โดยสนับสนุนการพัฒนาระบบสารสนเทศรองรับภัยพิบัติ ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพขึ้น รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อถอดบทเรียนการเตรียมความพร้อม และการฟื้นฟูจากประสบการณ์ในปี 2553

22 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 4 ยุทธศาสตร์ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

< Previous post โพลชี้ประชาชนให้คะแนนบัตรทองเกือบเต็ม 10!!

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด