logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เผยไทยติด 1 ใน 10 มาตรฐานอนามัยโลก ระบบสอบสวนอาการหลังรับวัคซีน

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการสอบสวนอาการภายหลังได้รับการสร้าง เสริมภูมิคุ้มกันโรคระดับเขต ตอนหนึ่งว่า วัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยมีความปลอดภัยสูง แต่อาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ สธ.จึงจัดทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 1,200 ทีมทั่วประเทศ และตั้งคณะกรรมการสอบสวนอาการภายหลังได้รับวัคซีนขึ้น เพื่อประเมินสาเหตุเบื้องต้นของอาการข้างเคียงภายหลังรับวัคซีนและสร้างความ เชื่อมั่นแก่ประชาชน

“มีเพียง 10 ประเทศ ที่องค์การอนามัยโลกรับรองมาตรฐานของระบบ สำหรับประเทศไทยนับเป็น 1 ใน 4 ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเซียโร่ (SEARO)”นพ.ไพจิตร์ กล่าว

นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยาได้รายงานผลการเฝ้าระวังอาการหลังรับวัคซีนปี 2554 จากประชาชน 72 จังหวัด พบว่าผู้รับวัคซีนประมาณ 81% มีอาการไม่รุนแรง มีเพียงการปวดบวมแดงจากปฏิกิริยาของวัคซีน สำหรับอาการร้ายแรง อาทิ ชัก แพ้รุนแรง พบได้น้อยมาก

นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า ระบบการรายงานอาการภายหลังได้รับวัคซีน จะทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของประชากรไทยว่ามีการตอบสนองต่อวัคซีนที่ใช้ภายใน ประเทศอย่างไรบ้าง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้เปรียบเทียบเมื่อมีการนำวัคซีนชนิดเดียวกัน แต่บริษัทใหม่เข้ามาใช้ นั่นหมายถึงจะช่วยในการพิจารณาเลือกวัคซีนในอนาคต

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สธ.มีนโยบายการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ให้กับประชาชนตั้งแต่แรกเกิดและตามช่วงอายุ โดยเด็กแรกเกิดถึงอายุ 12 ปีของไทย จะต้องฉีดวัคซีนพื้นฐาน 10 ชนิดป้องกันโรครวมทั้งหมด 14 ครั้ง อาทิ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โรคคางทูม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน ไม่รวมวัคซีนตามฤดูกาล หรือวัคซีนอื่นเพิ่มเติม

 

http://bit.ly/MS6mJF

28 มิถุนายน 2555

Next post > สธ.วอน ปชช.เชื่อใจ รพ.จ่ายยามีคุณภาพ ชี้ทำสารบบควบคุมแล้ว

< Previous post บอร์ดสปสช. เชื่อเจ็บป่วยฉุกเฉินเอื้อเอกชน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด