logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อย.เตือนระวัง! ยาปลอม “สมุนไพรละลายไขมันสูตร 1, สูตร 2”

สวมเลขทะเบียนยาอื่น หลอกลวงผู้บริโภค อย่าซื้อ อย่าใช้

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=33888

      อย.  เตือนผู้บริโภค  ระวังยาปลอม  “สมุนไพรละลายไขมันสูตร  1”   และ “สมุนไพรละลายไขมันสูตร 2” หลังพบสวมเลขทะเบียนยาอื่น หลอกลวงผู้บริโภค วางจำหน่ายในร้านขายยาในจังหวัดเลย ขอผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อมารับประทานเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตราย วอนประชาชนแจ้งเบาะแสแหล่งผลิต/จำหน่าย เพื่อจะได้ดำเนินคดีกับผู้ผลิต/จำหน่ายอย่างเข้มงวด

      ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่าจากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ที่ให้ความสำคัญในการปราบปรามสถานที่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ซึ่ง อย. และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ขานรับนโยบายดังกล่าว   โดยในครั้งนี้ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยว่าได้ดำเนินการตรวจสอบร้านขายยาภายในจังหวัด พบมีการจำหน่ายยาชื่อ “สมุนไพรละลายไขมันสูตร 1” กระปุกพลาสติกสีขาว ฉลากสีส้มและ“สมุนไพรละลายไขมันสูตร 2” กระปุกพลาสติกสีขาว ฉลากสีเขียว บนฉลากระบุสมุนไพรแผนโบราณ บรรจุ 30 แคปซูล ทะเบียนยาเลขที่ G575/47  ผลิตโดยผู้ผลิตยาแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งทั้ง 2 สูตรบรรจุในแพ็คเดียวกัน และระบุเลขทะเบียนยาตำรับเดียวกัน 

      นอกจากนี้ยังระบุคำแนะนำให้รับประทานควบคู่กันทั้ง 2 สูตร จากการตรวจสอบพบว่าเลขทะเบียนตำรับยาดังกล่าวไม่ได้เป็นความจริง ดังนั้นยา “สมุนไพรละลายไขมันสูตร 1”และ“สมุนไพรละลายไขมันสูตร 2”  จึงจัดเป็นยาปลอม ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้ซื้อยาดังกล่าวมารับประทานเพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้   ทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยได้มีการประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ  เพื่อดำเนินการตรวจสอบสถานที่ผลิตยาดังกล่าวแล้ว  หากพบจะมีความผิดเข้าข่ายผลิตยาปลอม  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาทถึง 5 หมื่นบาท

      รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายยามีจริยธรรมในการประกอบการ ในส่วนของร้านขายยา  อย. ขอกำชับให้ซื้อยาที่มีเลขทะเบียนตำรับยาถูกต้อง และซื้อยาจากผู้ผลิตยาที่ได้รับอนุญาตผลิตยาจากทางราชการแล้วเท่านั้น  สำหรับประชาชนขอให้ช่วยเป็นหูเป็นตา หากพบว่ามีการผลิตหรือจำหน่ายยาผิดกฎหมาย หรือน่าสงสัยว่าผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งร้องเรียนมาที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชั้น 1 ตึกอย. หรือสายด่วน อย. 1556 หรือ Email : [email protected] หรือตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข  จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด  เพื่อจะได้ดำเนินคดีกับผู้ผลิต/จำหน่ายที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป


29 กันยายน 2553

Next post > “จุรินทร์” ดีเดย์ 1 ตุลาคม 2553 รักษาฟรี 48 ล้านคน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว ให้ประชาชนรับบริการสาธารณสุขที่สะดวก รวดเร็ว เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ

< Previous post สธ.สั่งเฝ้าระวัง“โรคมือเท้าปาก“ 9 เดือนป่วยกว่าหมื่นราย “น่าน-ตรัง“พบมากสุด

Related Posts

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด