logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ASTVผู้จัดการรายวัน

ฉบับวันที่: 14 สิงหาคม 2015

ดันตรวจยีนก่อนใช้ยา ‘ลมชัก-ปวดปลายประสาท’

HITAP ชี้ตรวจยีน HLA-B*1502 ก่อนให้ “ยาคาร์บามาเซปีน” รักษาโรคลมชัก-ปวดปลายประสาท ช่วยป้องกันการเกิดผื่นแพ้รุนแรงได้ เผยยีนนี้พบมากในคนเอเชีย ระบุไต้หวันดันลงสิทธิประโยชน์แล้ว ยันไทยทำมีความคุ้มค่า ชงบรรจุสิทิประโยชน์บัตรทองแล้ว

วานนี้ (13 ส.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ และภญ.วรัญญา รัตนวิภาพงษ์ นักวิจัย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) แถลงผลการดำเนินงานวิจัย เรื่อง “การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ ของการให้บริการตรวจยีน HLA-B*1502 เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ในงานแถลงข่าว “โครงการเมธีวิจัยอาวุโส เชื่อมงานวิจัยสู่นโยบาย” จัดโดย HITAP และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ว่า ยาคาร์บามาเซปีน (Carbamazepine) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคลมชักและภาวะปวดปลายประสาท (Neuropathicpain) โดยเป็นยาที่แพทย์มักเลือกใช้เป็นอันดับแรก เพราะมีประสิทธิภาพดี และบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่จากการศึกษาทางเภสัชพันธุศาสตร์พบว่ายีน HLA-B*1502 ในร่างกายมนุษย์ มีความจำเพาะต่อยาตัวนี้ หากคนใดที่มียีนดังกล่าวจะเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้ยาคาร์บามาเซปีนได้มากกว่าคนที่ไม่มียีนถึง 55 เท่า ดดยมีงานวิจัยว่ายีนดังกล่าวพบในกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติเอเชียมากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ เช่น ไต้หวัน และไทย

ภญ.วรัญญา กล่าวว่า สำหรับอาการผื่นแพ้ยาดังกล่าว จะทำให้เกิดการหลุดลอกของผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ทั่วร่างกาย บางรายอาจถึงขั้นตาบอด หรือเสียชีวิต โดยตั้งแต่ปี 2527-2553 พบว่ามีผู้เกิดผื่นแพ้จากการใช้ยาดังกล่าวมากถึง 9,000 กว่าราย ซึ่งการรักษาผื่นแพ้ยาชนิดนี้ทำให้เกิดผลกระทบด้ายรายจ่ายที่สูงขึ้น และอาจนำมาสู่การฟ้องร้องแพทย์ได้ ซึ่งการตรวจยีนก่อนให้การรักษาด้วยยาดังกล่าวถือเป็นแนวทางที่ป้องกันได้ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤา แคนาดา ประกาศแนะนำให้แพทย์ต้องตรวจยีน HLA-B*1502 ในผู้ป่วยชาวเอเชียที่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาคาร์บามาเซปีนก่อน สำหรับในเอเชียพบว่ามีเพียงไต้หวันเพียงประกาศเดียวที่มีการประกาศแนะนำเช่นนี้ และบรรจุให้การตรวจยีนดังกล่าวอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ จึงเป็นที่มาในการศึกษาเรื่องดังกล่าวว่าหากบรรจุการตรวจยีนดังกล่าวว่าลงฝนสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะมีความคุ้มค่าหรือไม่

“จากการวิจัยพบว่าหากมีการตรวจยีนดังกล่าวก่อนให้ยาคาร์บามาเซปีนในการรักษาภาวะปวดปลายประสาทมีความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการไม่ได้ตรวจยีน แต่ในการรักษาโรคลมชักไม่มีความคุ้มค่า จึงได้เสนอปลวิจัยแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่างเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งมีความเห็นว่าแม้โรคลมชักจะไม่คุ้มค่า แต่ความเสี่ยงในการเกิดอาการผื่นแพ้ยาด้งกล่าวใน 2 โรคมีเหมือนกัน และควรมีระบบให้คำปรึกษาเรื่องการตรวจคัดกรองยีนไม่ว่าจะได้บรรจุในสิทธิประโยชน์หรือไม่ แต่เบื้องต้นคณะอนุกรรมการสิทธิประโยชน์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พิจารณาว่าควรมีการเพิ่มสิทธิดังกล่าว ซึ่งยังต้องมีการเสนอต่อคณะอนุกรรมการการเงินการคลัง สปสช.ต่อไป” ภญ.วรัญญา กล่าว

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้า HITAP กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข พร้อมทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์รวม 9 แห่ง และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้พัฒนาวิธีการตรวจ และเปิดให้บริการตรวจทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์ รวมทั้งการตรวจคัดกรองยีนดังกล่าว จากการประมาณการมีผู้ป่วยใหม่ที่จะได้รับยาคาร์บามาซีปีน 14,183 – 55,314 คนต่อปี และในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็เปิดบริการตรวจดังกล่าวเช่นกัน โดยหากคิดเป็นค่าใช้จ่ายก็ตกครั้งละ 1,500 บาท

14 สิงหาคม 2558

Next post > เด็กไทย 6 หมื่นใส่แว่นไม่ตรงค่าสายตา

< Previous post ‘ไฮแทป’ดันตรวจยีนป้องกันผื่นแพ้รุนแรง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด