logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ฉบับวันที่: 22 สิงหาคม 2024

สวรส. จับมือ 24 องค์กรเครือข่าย ขับเคลื่อนวิจัยในระบบสุขภาพ รองรับวิกฤตประเทศและปัญหาสุขภาพประชาชน

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดงานประชุมวิชาการ “ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ” ปี 2567 พร้อมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การวิจัยด้านระบบสุขภาพและการแพทย์

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดงานประชุมวิชาการ “ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ” ปี 2567 พร้อมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การวิจัยด้านระบบสุขภาพและการแพทย์  ร่วมกับภาคีเครือข่ายรวม 24 หน่วยงาน ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยในพิธีลงนาม MOU ดังกล่าว รศ. ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) หนึ่งในภาคีเครือข่ายได้เข้าร่วมพิธีเพื่อแสดงถึงความร่วมมือในการจัดระบบสนับสนุนและบูรณาการการวิจัยด้านระบบสุขภาพและการแพทย์ โดยมุ่งให้เกิดการขับเคลื่อนงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างผลลัพธ์และผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ เลขาธิการมูลนิธิและนักวิจัยอาวุโส HITAP ในเวทีอภิปรายเรื่อง “หลอมรวมปัญญาสู่ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ของระบบสุขภาพด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์”

นอกจากนี้ ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ เลขาธิการมูลนิธิและนักวิจัยอาวุโส HITAP ได้เข้าร่วมเวทีอภิปรายเรื่อง “หลอมรวมปัญญาสู่ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ของระบบสุขภาพด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์” โดยกล่าวถึงความท้าทายของระบบสุขภาพที่มีทั้งยาราคาแพง และค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางออกของปัญหาเหล่านี้มี 2 ทางคือ การเพิ่มงบประมาณเข้าไปในระบบ หรือลดการลงทุนที่สูญเปล่าในระบบสุขภาพ จากข้อมูลพบว่า บางประเทศที่มีการเติมเงินเข้าไปในระบบสุขภาพนั้น คิดเป็นค่าใช้จ่ายสูงถึงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ด้านประเทศไทยที่มีการใช้จ่ายด้านนี้เพียงร้อยละ 5-6 ของ GDP เท่านั้น แต่กลับมีการลงทุนที่สูญเปล่าอยู่จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น อัตราการผ่าตัดคลอดของไทยที่สูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กำหนดไว้ที่ร้อยละ 10-15 และสูงเป็นอันดับสองของเอเชียรองจากจีน นอกจากนี้ การผ่าตัดไส้ติ่งของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยยังมีอัตราสูงเกินความจำเป็น และใช้งบประมาณไปกว่า 60 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สามารถนำไปสนับสนุนระบบสาธารณสุขในส่วนอื่นได้ เป็นต้น การลดการลงทุนที่สูญเปล่าให้น้อยลง จะสามารถมีเงินลงทุนกับการรักษารูปแบบใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งงานวิจัยจะเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเกิดความคุ้มค่าได้มากยิ่งขึ้น

—–

รับชมไลฟ์ย้อนหลัง: https://www.facebook.com/hsrithailand/videos/1595578387967239/

—–

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบสาธารณสุขเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการปรับตัวของระบบบริการต่อการระบาดและความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย https://www.hitap.net/research/179967

เอกสารเผยแพร่

Policy Brief ฉบับที่ 130: Data ช่วงการระบาดโควิด-19 พบการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบอาจเกินจำเป็น https://www.hitap.net/documents/183971

Policy Brief: ฉบับที่ 134: ผลพวงจากมาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ต่อการให้บริการผู้ป่วยใน (IPD) ของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) https://www.hitap.net/documents/184044

Policy Brief ฉบับที่ 139: แนวโน้มการผ่าคลอดในไทยเพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่? https://www.hitap.net/documents/184063

—–

ที่มา

ภาพ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

ข่าว: https://www.hsri.or.th/news/1/4296

22 สิงหาคม 2567

Next post > HITAP ร่วมเปิดตัวโครงการ "Happyland แดน (เคย) สุขใจ" โดยไทยพีบีเอส ร่วมกับ 10 องค์กรภาคีเครือข่าย มุ่งยกระดับสุขภาพจิต ชวนคนไทยร่วมหาวิธีสร้างภูมิคุ้มใจด้วยกัน

< Previous post ขอเชิญร่วมตอบแบบสำรวจ เรื่อง "ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์"

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด