logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ไทยรัฐ

ฉบับวันที่: 24 พฤษภาคม 2018

มะเร็งต่อมลูกหมากภัยเงียบที่ร้ายแรงในผู้ชายกับความหวังในการรักษา

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/1279244

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่า 30 ปี เล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งมีแนวโน้มจะพบผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยจากในอดีตที่เคยเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในอันดับ 8 แต่ผ่านไป 10 ปี โรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบมากขึ้นเป็นอันดับ 3 และจัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในอันดับ 2 ของมะเร็งทั่วโลก เนื่องด้วยเป็นโรคที่มักจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้นกว่าจะมาพบแพทย์ก็ผ่านไปถึงระยะลุกลาม ซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสียโอกาสในการรักษา เนื่องจากการพบผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นมีโอกาสรักษาหายขาดได้ และพบความสิ้นเปลืองน้อยกว่าการรักษาในระยะท้ายดังนั้นการตรวจคัดกรองโรค โดยเฉพาะกับผู้ชายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งได้แก่ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการปัสสาวะผิดปกติรวมถึงคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

และจากสถิติผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นปัจจุบันพบว่ามีอัตราสูงมากถึง 2,000 รายต่อปีพบความชุก 6.4 ต่อแสนของประชากร ส่งผลให้มีอัตราเฉลี่ยของการเสียชีวิตมากขึ้น รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการบรรจุยา LHRHanalogues เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษามีทางเลือกทางการรักษามากขึ้น

ก่อนที่ยากลุ่ม LHRH analogues จะเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติต้องผ่านการประเมินความคุ้มค่าจากคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และผลกระทบทางด้านงบประมาณที่รัฐต้องใช้ในการรักษา โดย ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช หนึ่งในคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้กล่าวถึงปัญหาในการเข้าถึงการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากที่ผ่านมาว่า ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้เนื่องจากไม่ปรากฏอาการที่เด่นชัด ประกอบกับการรับรู้ในอดีตว่าเมื่อเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแล้วจะต้องถูกตัดอัณฑะทิ้งเสมอ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลและไม่อยากเข้ารับการรักษาแต่หลังจากที่มีการประเมินความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของการใช้ยา LHRH analogues ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาแทนการตัดลูกอัณฑะพบว่าการรักษาด้วย LHRH analogues มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทยโดยกลุ่มผู้ป่วยระดับความเสี่ยงปานกลางจะได้รับการให้รังสีรักษาร่วมกับการรักษาด้วย LHRH analogues เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และผู้ป่วยระดับความเสี่ยงสูงหรือสูงมาก จะได้รับการให้รังสีรักษาร่วมกับการรักษาด้วย LHRH analogues เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ด้วยเหตุนี้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติจึงได้มีมติให้ยา LHRH analogues บรรจุเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2560 เพื่อให้ผู้ป่วยที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพทุกสิทธิ จึงเป็นโอกาสเพิ่มทางเลือกในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยที่ไม่ต้องรักษาโดยวิธีตัดอัณฑะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

30 พฤษภาคม 2561

Next post > สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย ร่วมกับ HITAP จัดอบรม "พัฒนาการวิจัยประเมินผล ครั้งที่ 3"

< Previous post สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติที่จังหวัดเชียงใหม่

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด