logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ทำไมบางประเทศถึงไม่แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA

 

เรามักเห็นรายการตรวจสุขภาพประจำปี มีการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA อยู่เสมอ แต่รู้หรือไม่ว่า หลายประเทศในโลกไม่แนะนำให้ตรวจแล้ว เพราะอะไร อ่านต่อได้เลยค่ะ

คัดกรองเพิ่มขึ้นแต่ไม่ช่วยให้จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง
คัดกรองเพิ่มขึ้นแต่ไม่ช่วยให้จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง
PSA หรือ Prostate-specific antigen เป็นเอ็นไซม์ที่ใช้ติดตามการวางแผนและติดตามประเมินผลการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมาก ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จึงมีการใช้ PSA ในการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย หากผู้รับการตรวจมีค่า PSA ผิดปกติ อาจแปลว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้เกิดการวินิจฉัยมะเร็งในระยะแรกเพิ่มอย่างมาก และผู้ป่วยได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นมากตามมาเช่นกันโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยุโรป อย่างไรก็ตามในระยะหลังกลับพบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ลดลง สาเหตุคือ โดยทั่วไปแล้วมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยหลายรายจะไม่เสียชีวิตเพราะมะเร็งชนิดนี้ การรักษาจึงไม่ได้ประโยชน์

นอกจากนี้การคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA ทำเกิดการวินิจฉัยและรักษาจนเกินความจำเป็น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีจนอาจเสียชีวิตได้ ดังนี้

PSA

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ PSA ไม่มีความจำเพาะต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้ได้ผลบวกเกินจริง (ค่าผิดปกติเกินจริง) ที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้ระดับ PSA ผิดปกติ มีมากกว่าการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือมีการหลั่งน้ำอสุจิ ทว่าหากผู้ป่วยมีค่า PSA ผิดปกติแพทย์มักตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการตรวจชิ้นเนื้อ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังภาพ ทำให้บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่มยุโรปไม่แนะนำให้คนของเขาตรวจคัดกรองด้วย PSA ส่งผลให้ระบบประกันสุขภาพและสมาคมแพทย์เกือบทั้งหมดทั่วโลกไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากอีกต่อไป

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่ไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ถ้าไม่พบความผิดปกติ ของการขับถ่ายปัสสาวะและอายุยังไม่ 50 ก็ไม่แนะนำให้ปตรวจ ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือเช็คระยะสุขภาพ ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย ได้ที่ https://www.hitap.net/documents/18970  และเข้าเช็คสุขภาพของท่านได้ที่ www.mycheckup.in.th

 

31 มกราคม 2560

Next post > ทำไมต้องใช้ ม44 ปลดล็อก อย.

< Previous post คุณลืมดูแลหัวใจของคุณหรือเปล่า

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ

บทความที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน