logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ข่าวความคืบหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพด้าน HTA ในภูมิภาคเอเชีย และ ความเคลื่อนไหวของเครือข่าย iDSI

โดย สุธีนุช ตั้งสถิตย์กุลชัย

เนื่องจากระบบหลักประกันสุขภาพถูกบรรจุอยู่ในวาระสุขภาพระดับโลก รัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนาจึงให้ความสำคัญและเพิ่มการลงทุนทางด้านสุขภาพมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health technology assessment: HTA) นั้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การใช้ทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัดในแต่ละประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศยังอยู่ในขั้นตอนการเริ่มต้นการพัฒนาการประเมินเทคโนโลยีอยู่ จึงเกิดการพัฒนาความร่วมมือที่เรียกว่า Asia‐Pacific Observatory on Health Systems and Policies (APO) โดยเป็นการรวมตัวของกลุ่มสถาบันหรือองค์กรทางด้านวิชาการที่สนับสนุนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการตัดสินใจเชิงนโยบายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

การประชุม Learning from practice: HTA capacity development across Asia ที่จัดขึ้น ณ วันที่ 26 มกราคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นหนึ่งในการประชุมย่อยของงานประกาศรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (Prince Mahidol Award Conference) มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นที่การวิเคราะห์ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายเพื่อนำกระบวนการการประเมินเทคโนโลยีเข้าสู่ระบบสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ทั้งในแง่บุคลากรและหน่วยงาน HTA รวมถึงเพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายในระดับนานาประเทศ เช่น จีน เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย และไทย ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

การประชุมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าประชุมกว่า 50 คนจากทั่วภูมิภาค ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมอภิปรายถึงผลของปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งองค์กรประเมินเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่อื่นๆ ที่ได้รับความสนใจในช่วงอภิปราย เช่น จะมีการพัฒนาเชื่อมโยง HTA กับการตัดสินใจเชิงนโยบายอย่างไร โดยเฉพาะการจัดลำดับความสำคัญในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งควรแทรกอยู่ในทุกขั้นตอน รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับความยากลำบากต่างๆ ในการทำงานอันมีผลเนื่องจากกระบวนการทางการเมือง ทรัพยากรที่มีจำกัด โดยผลอภิปรายที่ได้ในครั้งนี้จะจัดทำอยู่ในรูปแบบของ Policy brief

ในบ่ายวันเดียวกันยังมีการจัดประชุมในหัวข้อ “Priority Setting for Universal Health Coverage: the role of the international Decision Support Initiative” ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปว่ากระบวนการการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่มีประโยชน์ต่อระบบหลักประกันสุขภาพเป็นอย่างมาก

International Decision Support Initiative หรือ iDSI เป็นเครือข่ายที่สถาบันเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพ (National Institute for Health and Care Excellence: NICE) ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในแง่ของการจัดสรรทรัพยากรสำหรับระบบสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย NICE International, the Center for Global Development, Imperial College London, University of York, Office of Health Economics, Meteos และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program: HITAP)

การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่ออภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการในปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรคต่างๆ รวมถึงร่วมกันตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักรู้เรื่องงานของ iDSI ในกลุ่มงานด้านสุขภาพต่างๆ ทั่วโลก เพื่อสร้างเครือข่ายใหม่ๆ ในการส่งเสริมการตัดสินใจเชิงนโยบายโดยยืนอยู่บนพื้นของหลักฐานวิชาการ

หลังจากเปิดอภิปรายแล้วได้มีการพูดคุยและตั้งคำถามเกี่ยวประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดลำดับความสำคัญ สองประเด็นด้วยกัน หนึ่งคือ การนำเครื่องมือหรือองค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ เข้ามาพิจารณาในขั้นตอนการจัดลำดับฯ เช่น การจัดสรรทรัพยากรที่มี อย่างที่สองคือ จะวัดความสำเร็จของการจัดลำดับความสำคัญได้อย่างไร จะจัดการสิ่งต่างๆ ให้สมดุลอย่างไรในแง่ของการทำงานระดับนานาชาติไปพร้อมๆ กับระดับประเทศอย่างไร ทั้งในแง่ของการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและระยะเวลา นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของโมเดลที่จะใช้สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา ความยั่งยืนของประเทศนั้นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ควรได้รับการพิจารณาทั้งสิ้น รวมถึงการอภิปรายเกี่ยวกับ HTA ในหลากหลายแง่มุม

9 มีนาคม 2558

Next post > หลัก 11 ประการ ของการประเมินความคุ้มค่าที่ดี

< Previous post เช็คสุขภาพ ก่อนสตาร์ท

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ