logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เพิ่งรู้! พ่นยาโรคหืดในเด็กถูกวิธี.. เป็นแบบนี้??

เป้าหมายการรักษาโรคหืดในเด็กคือให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคหืดได้ ป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลง การใช้ยาที่ถูกต้อง เช่น การพ่นยารักษาโรคหืดให้ถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยควบคุมอาการได้ การพ่นยาที่ถูกวิธีนั้นควรใช้ผ่านอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่ากระบอกสูดยา (spacer) จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น แต่การนำเสนอภาพการพ่นยาตามสื่อต่าง ๆ ที่ผ่านมามักไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและส่งผลถึงการรักษาที่ได้ผลไม่เต็มที่

พ่นยาถูกวิธี ชีวิตเปลี่ยน ยารักษาโรคหืดมีทั้งยากิน ยาฉีด ยาสูดพ่น ซึ่งยาสูดพ่นที่เรียกว่า inhaled corticosteroids หรือ ICS นั้นเป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด ยาสูดพ่นเป็นยาที่เดินทางตามการสูดจากปากเข้าสู่หลอดลมออกฤทธิ์โดยตรงต่อปอด  จึงใช้ปริมาณยาที่น้อยเมื่อเทียบกับยากิน แต่ในผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับยาสูดอาจไม่มีประสบการณ์ ซึ่งควรฝึกฝนให้เกิดความคุ้นเคย จะทำให้สูดยาได้อย่างถูกต้อง การสูดยา ICS อย่างถูกต้องจะทำให้เกิดการซ่านเข้าสู่หลอดลมที่มีการอักเสบโดยตรง ซึ่งระยะพ่นยาที่ถูกต้องมีความสำคัญอย่างมาก (ควรสูดพ่นที่ระยะ 1 ฟุต) เนื่องจากจะทำให้ผู้ป่วยได้รับขนาดละอองยาที่เหมาะสมและซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อปอดช่วงหลอดลมส่วนปลายได้ดีและได้รับปริมาณยาที่เพียงพอต่อการรักษา การพ่นผ่านกระบอกสูดยาทำให้มีระยะเหมาะสมและทำให้ยาส่วนหนึ่งตกค้างที่กระบอก ไม่เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป เมื่อพ่นเสร็จให้บ้วนน้ำกลั้วคอเพื่อล้างตัวยาที่ตกค้างในช่องปากทิ้งทันทีและเช็ดปากให้สะอาด จะยิ่งลดผลข้างเคียงที่จะเข้าสู่กระแสเลือดได้

2. inside หอบหืด

2. inside หอบหืด

การพ่นยาในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี มักมีปัญหาในการสูดยาจึงต้องมีอุปกรณ์เสริมเพื่อใช้กักยาไว้ช่วยให้เด็กสูดยาได้อย่างเต็มที่ หากให้เด็กสูดยาจากหลอดยาเหมือนผู้ใหญ่ จะทำให้เด็กไม่ได้รับยาในปริมาณที่สามารถรักษาอาการของโรคหืดได้ ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาโรคหืดในเด็กมีอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งผู้ป่วยทุกรายสามารถเข้าถึงยาและเบิกจ่ายได้ฟรี ดังนั้นควรมีการผลักดันให้มีการเบิกจ่าย “กระบอกสูดยา” จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมเบิกจ่ายยาด้วย ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลสูงสุดในการรักษา ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย นอกจากนั้น ควรทำการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงสื่อสารกับผู้ป่วยและผู้แลให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เมื่อทราบข้อมูลการรักษาโรคหืดในเด็กแล้ว อย่าลืมนำไปปฏิบัติตาม เพื่อการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุดนะคะ

21 กรกฎาคม 2559

Next post > ถ้าเกิดลูกน้อยของคุณเป็นโรคหืด จะมียาไหนสามารถช่วยได้

< Previous post เมื่อมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจ ระบบบริการปฐมภูมิช่วยคุณได้

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ

บทความที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน