logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ผลวิจัย HITAP ชี้ให้วัคซีนป้องกันเอชไอวีกับกลุ่มเสี่ยงคุ้มสุด และพฤติกรรมหลังรับวัคซีนคือตัวแปรสำคัญ!

ผลวิจัย HITAP เผยให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีกับกลุ่มเสี่ยงมีความคุ้มค่ามากที่สุด และการเปลี่ยนพฤติกรรมหลังรับวัคซีนคือตัวแปรที่สำคัญ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปีเป็น “วันเอดส์โลก” เพราะโรคเอดส์เป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ โดยมีโบว์สีแดง (Red Ribbon) เป็นตัวแทนของสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นสากล เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีกับประชาชนทั่วไปที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน วันเอดส์โลกในปี 2558 มีคำขวัญคือ “Ending AIDS” ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์ โดยประเทศไทยตั้งเป้ายกระดับการก้าวเข้าสู่เป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ภายในปี 2573 มีมาตรการที่สำคัญคือจะมุ่งเน้นการพัฒนา และเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบบริการสุขภาพ และระบบชุมชน การผสมผสานบูรณาการระหว่างงานด้านการป้องกันและการรักษาตามแนวคิด ซึ่งการวางแผนรับมือแก้ไขปัญหาโรคเอดส์อาจต้องคำนึงถึงการทำข้อมูลมาช่วยสนับสนุนในโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ (2 ธ.ค. 58) ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับโครงการรณรงค์ลดการติดเชื้อเอดส์ นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควมคุมโรค (คร.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายจะลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทั้ง 3 กลุ่ม จะมุ่งใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.นโยบายถุงยางอนามัย 100% รณรงค์ให้มีการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ 2.ค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้เร็ว เพื่อนำเข้าสู่ระบบการรักษา ไม่เก็บตัว และ 3.การให้ได้รับยาต้านไวรัสโดยเร็ว ไม่ต้องรอให้ระดับภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาว หรือซีดีโฟร์ (CD4) ในเลือดต่ำถึงระดับหนึ่งก่อนเหมือนในอดีต เมื่อตรวจเจอว่าติดเชื้อก็จะให้ยาต้านไวรัสทันที และทำความเข้าใจให้ผู้ติดเชื้อเข้ารับยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัสก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ทั้งนี้ หากประเทศตั้งเป้าลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างจริงจังถือว่าเป็นโครงการที่ดีในระยะยาว แต่การดำเนินโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ควรมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน เพื่อให้การลงทุนด้านสุขภาพของประเทศเกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากงบประมาณที่จำกัด ซึ่งหนึ่งในงานวิจัยของ HITAP ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “การประเมินความคุ้มค่าของการนำวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี Prime-Boost (ALVAC-HIV®และ AIDSVAX B/E®) มาใช้ในประชากรไทย” โดยพบว่า การให้วัคซีนกับกลุ่มเสี่ยงคุ้มค่ากว่าการให้วัคซีนกับคนทั่วไป นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังการได้รับวัคซีนเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดต่อประสิทธิภาพของวัคซีนด้วย

อ่านงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/research/17540

4 ธันวาคม 2558

Next post > ปัญหาอนามัยโรงเรียนทำอย่างไรถึงจะมีทางออก

< Previous post สำรวจ “ร่ายกาย” อ้วนลงพุงหรือไม่? กระทบเศรษฐกิจแค่ไหน? พร้อมรับมือก่อนอันตรายถึงชีวิต!!

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ

บทความที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน