logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เคยสงสัยไหมว่า เขาใช้ข้อมูลอะไรประกอบการคัดเลือกมาตรการการคัดกรองโรคต่าง ๆ

การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข (Health Economic Evaluation) ช่วยให้ผู้บริหารและบุคลาการทางการแพทย์เลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสมได้อย่างไร การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ มีชื่อเล่นว่า EE เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยวิเคราะห์และสังเคราะห์ชุดข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจบรรจุยาเข้าบัญชียาหลักพิจารณาปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program) หรือ HITAP เป็นหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญในการทำวิจัยเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและนานาชาติ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ถือเป็นพันธกิจหนึ่งของ HITAP ที่ต้องการให้มีการประเมินเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างโปร่งใสโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ในการคัดเลือก จัดหา และการจัดบริการเทคโนโลยี รวมถึงการทำข้อเสนอแนะในการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสมทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ
การอบรมการประเมินความคุ้มค่าในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 เน้นเรื่องการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ สำหรับโปรแกรมการตรวจคัดกรองโรค เนื่องจากการคัดกรองโรค ถือเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ชนิดหนึ่งที่ต้องทำการประเมินความคุ้มค่าฯ การคัดกรองสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรค หรือลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากโรคหากพบว่าเป็นโรคแต่เนิ่น ๆ ซึ่งการคัดกรองโรคหรือปัญหาสุขภาพหนึ่งๆ อาจมีได้หลายวิธี เช่น การตรวจคัดกรองมะเล็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยวิธีตรวจเลือดที่ปนมากับอุจาระหรือวิธีส่องกล้อง
การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ช่วยให้ผู้บริหารและบุคลาการทางการแพทย์เลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสมได้อย่างไร การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ มีชื่อเล่นว่า EE เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยวิเคราะห์และสังเคราะห์ชุดข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจบรรจุยาเข้าบัญชียาหลักพิจารณาปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

EE มาช่วยพิจารณาอย่างไร
EE เป็นครื่องมือในการผลิตข้อมูลวิชาการแขนงหนึ่งของเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจให้กับบุคลากรสาธารณสุข ผู้บริหาร และผู้กำหนดนโยบาย บนพื้นฐานของหลักฐานทางวิชาการที่สามารถอ้างอิงได้ อีกทั้งเป็นข้อมูลที่บุคคลทั่วไปให้การยอมรับ เปรียบได้กับศาสตร์ด้านหนึ่งทางวิชาการในการผลิตผลงานวิจัยตามกระบวนการ Economic evaluation ผลที่ได้จะถูกในไปใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือก หรือการนำข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยมาปรับปรุงต่อไป เช่น ผลวิจัยระบุว่า การคัดกรองโรคดีกว่าการไม่คัดกรอง เพราะถ้าไม่มีการคัดกรอง คนที่เสี่ยงหรือป่วยจะมีโอกาสติดโรคได้มากกว่าคนปกติ แต่ถ้าได้รับการคัดกรองตั้งแต่แรกจะช่วยลดความเสี่ยงอันจะเกิดจากความเจ็บป่วยได้ ทว่า การคัดกรองบางอย่างอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง เช่นมีการฉีดยา การส่งชิ้นเนื้อตรวจ ทำให้ผู้รับการคัดกรองเกิดความเจ็บปวด หรือมีอันตรายที่เป็นผลจากการตรวจคัดกรอง จึงถือว่าการคัดกรองนั้นไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ เมื่อได้รับการคัดกรองแล้วผู้รับการคัดกรองไม่ยอมรับผลตรวจจทำให้มีการตรวจซ้ำอีก เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมทางทรัพยากรบุคคลทางการแพทย์ ซึ่งEE จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สามารถตัดสินใจได้ว่าในระบบสาธารณสุขไทยควรมีการคัดกรองแบบใด จึงเหมาะสมในบริบทกับประชากรหากทำการคัดกรองแล้ว จะส่งผลดีหรือเสียมากกว่าการไม่มีการคัดกรอง

การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข จึงไม่ได้หมายถึงการประเมินความคุ้มค่าเรื่องต้นทุนเพียงอย่างเดียว หากต้องพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่นเมื่อมียาใหม่ที่สามารถออกฤทธิ์รักษาโรคอย่างเดียวกันได้กับยาเดิม แต่ยาใหม่นั้นแพงกว่ายาเดิม ทำให้ต้องพิสูจน์ว่ามันดีกว่ายาเดิมอย่างไร ใช่ว่ายาแพงกว่าจะดีเสมอไป กระบวนการประเมินจึงเกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลของยาชนิดใหม่เทียบกับยามาตรฐาน ซึ่งไม่ต่างกับการคัดกรองโรคที่มีทั้งความคุ้มค่า และไม่คุ้มค่าจากการศึกษาแนวทางการนำชุดตรวจภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส (G6PD) มาใช้ในโครงการควบคุมโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทยพบว่า คนไข้ที่พร่องเอ็นไซด์ตัวนี้ หรือเมื่อได้รับสารบางอย่าง จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัวได้ง่ายมีอันตรายต่อชีวิต การที่ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองทำให้สามารถป้องกันหลีกเลี่ยงจากการได้รับสารบางชนิด ยาบางตัวที่เลี่ยงต่อชีวิต เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีการตรวจคัดกรอง

29 มิถุนายน 2560

Next post > EE ทำไมต้องมี 2 หลักสูตร

< Previous post ปรับตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิใหม่ ส่งผลดีอย่างไรต่อประชาชน

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ

บทความที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน