logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ปรับตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิใหม่ ส่งผลดีอย่างไรต่อประชาชน

โครงการ QOF ในไทย เกิดขึ้นเพราะหวังให้สถานพยาบาลในระบบบริการปฐมภูมิมีคุณภาพและบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงมีเครื่องมือตัวชี้วัดเข้ามาจัดการ โดยอาศัยกลไกทางการเงินกระตุ้นหรือจูงใจให้หน่วยบริการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกันในทุกพื้นที่ของประเทศ หากแต่การที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นจะสำเร็จต้องอาศัยการดำเนินงานในรูปแบบของกระบวนการการจัดการ ผลลัพธ์ และผลกระทบด้านสุขภาพ ประกอบกับการสนับสนุนและส่งเสริมให้สถานพยาบาลปฐมภูมิมีความสามารถในการให้บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน โดยมีตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือวัดประเมินผลการดำเนินงานการให้บริการในสถานพยาบาลปฐมภูมิให้เป็นมาตรฐาน

การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิ
โครงการ QOF ในช่วง ระยะแรก ทำให้หน่วยบริการคู่สัญญาเพื่อบริการปฐมภูมิ (CUP) และ สปสช. ตระหนักและเกิดความตื่นตัวและความสำคัญของคุณภาพบริการปฐมภูมิ ถึงแม้จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนามาตรฐานคุณภาพบริการปฐมภูมิ แต่ก็มีปัญหาหลายอย่างในการดำเนินงาน เช่น คุณภาพของตัวชี้วัด จึงได้เกิดการพัฒนาโครงการ QOF ในระยะ 2 ขึ้น โดยให้ความ สำคัญกับการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิและการพัฒนาตัวชี้วัดให้เกิดมาตรฐานบริการที่มีความเท่าเทียมกันทุกหน่วยบริการ หลักการโครงการ QOF ต้องการวัดผลงานจากข้อมูลที่หน่วยบริการบันทึกการให้บริการเป็นประจำในฐานข้อมูล 43 แฟ้ม ซึ่งหากสามารถทำตามตัวชี้วัดที่กำหนดจะได้งบประมาณ QOF เป็นแรงจูงใจในการทำงาน อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินโครงการมาแล้ว 3 ปี ยังพบปัญหาหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือ เรื่องคุณภาพตัวชี้วัดซึ่งเป็นตัวกำหนดคุณภาพการให้บริการ

การศึกษาโดย HITAP พบว่า การคัดเลือกตัวชี้วัดที่ใช้ในปี 2557-2559 ขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและขาดการใช้หลักฐานทางวิชาการประกอบในหารพิจารณา ทำให้ตัวชี้วัดบางรายการไม่เหมาะสมและไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากปัญหาความแตกต่างกันด้านปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่ รวมถึงสถานะทางเศรษฐกิจ และสังคมของแต่และจังหวัดมีความแตกต่างกัน แต่ต้องใช้ตัวชี้วัดฯ แบบเดียวกันทำให้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ไม่ได้รับการแก้ไข ในขณะที่การพัฒนาตัวชี้วัดฯของบริการสุขภาพในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร มีแนวทางในการดำเนินงานและการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน ใช้กระบวนการที่โปรงใส ทำงานอย่างเป็นระบบ อยู่บนรากฐานที่เชื่อถือได้ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังการทดสอบตัวชี้วัด

จากการศึกษาดังกล่าว เพิ่มมิให้เพิ่มภาระงานภาระงานบริการแก่ผู้ปฏิบัตงานในพื้นที่ จึงได้เสนอให้มีตัวชี้วัด 3 กลุ่ม ได้แก่ตัวชี้วัดฯกลาง ซึ่งใช้กับหน่วยบริการทุกแห่ง  2 ตัวชี้วัดฯพื้นที่ ซึ่งหน่วยบริการแต่ละเขตสามารถเลือกนำไปใช้ได้ตสมความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และ  3 ตัวชี้วัดฯ ที่พีื้นที่คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต(อปสข.) พัฒนาเพิ่มเติมตามปัญหาและบริบทของพื้นที่  การคัดเลือกตัวชี้วัดฯ ในปี 2560จึงได้ออกแบบกระบวนการที่มีคุณลักษณะคล้ายกับสหราชอาณาจักร ตัวชี้วัดเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้ตอบโจทย์ในการดูแลสุขภาพประชาชน ช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วย การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐจากการให้บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตัวชี้วัดเหล่านี้ ได้แก่ HT = โรคความดันโลหิต (hypertension) HT1 HT2 HT3 MCH = อนามัยแม่และเด็ก (maternal and child health) MCH2 MCH5 RUA = การใช้ยาปฏิชีวะอย่างสมเหตุสมผล (rational use of antibiotics) RUA1 RUA2 และ DM = โรคเบาหวาน (diabetes mellitus) DM1 DM2 ตัวชี้วัดฯ ดังกล่าวได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการมากกว่าร้อยละ 70 รวมทั้งมีการให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิทุกขนาด และมีการบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูล 43 แฟ้ม

ซึ่งตัวชี้วัดที่ดีควรทำให้ผู้บริการทราบเข้าใจ ปฏิบัติได้จริง เก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แปลผลได้ตรงตามวัตถุประสงค์ รวมถึงมีการติดตามอย่างเป็นระบบซึ่งสามารถต่อยอดและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Capture p1

ตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิใหม่ จากงานวิจัยของ HITAP
HITAP ได้เสนอตัวชี้วัดให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านำไปใช้ในปี พ.ศ. 2560 ตัวชี้วัดเหล่านี้ได้รับการพัฒนาการดำเนินการโครงการ QOF ให้ตอบโจทย์ในการดูแลสุขภาพประชาชนช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วย การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐจากการให้บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/documents/167057

20 มิถุนายน 2560

Next post > เคยสงสัยไหมว่า เขาใช้ข้อมูลอะไรประกอบการคัดเลือกมาตรการการคัดกรองโรคต่าง ๆ

< Previous post หยิบข่าวมาเล่า: “มะเร็งปากมดลูก” คร่าชีวิตพุ่งเหตุตรวจคัดกรองต่ำ HITAP เผยงานวิจัยชี้คัดกรองด้วย VIA ร่วมกับ pap smear ที่อายุ 30 ปีขึ้นไปมีความคุ้มค่ามากที่สุด

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ

บทความที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน