logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
3 สิทธิประโยชน์ควรรู้ของผู้พิการทางการได้ยิน…เพราะวันนึงเสียงที่คุณได้ยินอาจหายไป

ความพิการอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ทั้งจากมลภาวะทางเสียง จากอายุของผู้คนในสังคมที่มากขึ้น ประสาทการได้ยินอาจเสื่อมลงได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายอยู่ถึง 391,785 คน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ต่อไปนี้คือ 3 สิทธิประโยชน์ที่หลายคนอาจไม่รู้ของผู้พิการทางการได้ยิน

 

1 เครื่องช่วยฟังฟรี

ผู้พิการทางการได้ยินมีหลายระดับ โดยในระดับที่ยังคงได้ยินเสียงอยู่ หากรักษาด้วยการผ่าตัดหรือรับประทานยาแล้วยังจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังนั้นสามารถเบิกอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังได้ฟรี ซึ่งสามารถเบิกได้ในทุกสิทธิสุขภาพหลัก ได้แก่ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) สิทธิประกันสังคมและสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

 

2 บริการล่ามภาษามือ

ผู้พิการทางการได้ยินหรือผู้ดูแลสามารถขอใช้บริการล่ามภาษามือได้ในหลายกรณีด้วยกัน อันได้แก่ การใช้บริการทางการแพทย์ การสมัครงาน การใช้ในการสอบสวนและการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ เป็นต้น โดยผู้พิการที่ต้องการล่ามภาษามือสามารถส่งคำร้องได้ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.)

 

3 การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการได้ยิน

การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินมักจะมีขึ้นหลังการผ่าตัดประสาทหูเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาสื่อความหมายผ่านเสียงได้อีกครั้ง โดยมีนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายจะทำงานร่วมกับผู้ปกครองเพื่อให้ผู้พิการฝึกฟัง – พูดอย่างต่อเนื่องถึงจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้

ปัจจุบันคนไทยสามารถเข้าถึงการฟื้นฟูเหล่านี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเมื่อไม่นานมานี้สิทธิประโยชน์การคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด สปสช. ให้ขยายเพื่อครอบคลุมเด็กไทยแรกเกิดทุกคนแล้ว ทำให้ในอนาคตเด็กที่พิการทางการได้ยินแต่กำเนิดสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากยิ่งขึ้น

 

“เราทุกคนจะมีความพิการอย่างใดอย่างหนึ่งถ้าเราโชคดีมากพอ” คำพูดนี้มีที่มาอย่างไร

ติดตามคำตอบได้ที่งานทอล์ก “เสียงที่ไร้เสียง” นโนยายสุขภาพช่วยคนหูหนวกอย่างไร ชวนทุกคนมาทำความเข้าใจคนพิการผ่านมุมมองที่คุณอาจไม่เคยนึกถึง และพาไปดูว่า ความพิการอาจอยู่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ https://www.hitap.net/news/184114

—–

อ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่นี่ “การศึกษาการขยายบริการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดในประเทศไทย : ความเป็นไปได้ ต้นทุน และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์” https://www.hitap.net/research/179958 “การประเมินความพร้อมของระบบสุขภาพในการให้บริการผ่าตัด ฝังประสาทหูเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพในประเทศไทย”

https://www.hitap.net/research/175116

 

 

อ้างอิง

เครื่องช่วยฟัง เบิกได้ฟรีมานานแล้ว แต่คนไม่รู้

https://thisable.me/content/2020/07/635

https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1017417

3 สิงหาคม 2565

Next post > EE ครั้งที่ 17 เปิดเคสจริงสอน โดยทีมวิทยากร ดร. นพ.ยศ “ยาแพงแต่จำเป็น” “ปรับเพดานความคุ้มค่า”

< Previous post การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ครั้งที่ 17 (ปิดรับสมัครแล้ว)

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ