HITAP Foundation รับรางวัลเกียรติยศ “5 ทศวรรษ ระบบยาประเทศไทย” พร้อมร่วมเสวนาทิศทางบัญชียาหลักแห่งชาติ

นักวิจัย IHPP และ HITAP รายงานผลการประเมินการความสำคัญของหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่จะเข้าสู่การประเมินความคุ้มค่าในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า
ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2553 ณ ห้องประชุมของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นักวิจัย IHPP และ HITAP ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะทำงานคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพเข้าสู่การประเมินเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รายงานผลการประเมินการความสำคัญของหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพให้แก่คณะทำงานฯ เพื่อคัดเลือกหัวข้อที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ เข้าสู่การประเมินความคุ้มค่าในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า
ในการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายเลขาฯได้นำเสนอผลที่ได้จากการการทบทวนประเด็นการคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพทั้งหมด 14 หัวข้อ ที่ได้มาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบสุขภาพ
ภายหลังจากการนำเสนอผลที่ได้จากการทบทวนตามแนวทางที่วางไว้ คณะทำงานฯ ได้คัดเลือกหัวข้อทั้งสิ้น 5 หัวข้อ ได้แก่ การตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ที่มีภาวะกลุ่มอาการดาวน์ในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองโดยใช้ triple test, การปลูกถ่ายอวัยวะ: การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเพื่อรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง, การลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต (sepsis) โดยอุปกรณ์ FloTrac, PreSep หรือ PediaSat ในการเฝ้าระวัง, ติดตามค่าการไหลเวียนความดันโลหิตและการวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสโลหิต, การรักษาวัณโรคดื้อยารุนแรง (XDR) และ แนวทางการส่งเสริมการจัดการวิตตามินเสริมโฟเลทและไอโอดีนในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์
จากนี้ไป ฝ่ายเลขาฯ จะนำหัวข้อดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการประเมินความคุ้มค่าและจะนำเสนอผลการศึกษาต่อคณะทำงานฯ อีกครั้ง