logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมนำเสนอผลวิจัยเบื้องต้นในเรื่อง “การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการวินิจฉัยวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย”

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 นักวิจัย HITAP โดย ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว ในฐานะนักวิจัยหลัก จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยเอดส์ โดยเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยเบื้องต้นในเรื่อง “การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการวินิจฉัยวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย” เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะแก่นักวิจัยที่รับผิดชอบงานวิจัยเรื่องนี้

ซึ่งงานวิจัยเรื่องนี้เป็นการประเมินความคุ้มค่าของเครื่องมือการตรวจเชื้อวัณโรคในผู้ป่วย ในการดำเนินการประเมินความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการคัดกรองเชื้อวัณโรคในผู้ป่วยเอดส์ เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมกับระบบสุขภาพไทย  โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง HITAP กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันบำราศนราดูร และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก the U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC)  สำหรับหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พญ.ศรีประพา เนตรนิยม สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค นพ.สมยศ กิตติมั่นคง สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พญ.สุพรรณี จิรจริยาเวช โรงพยาบาลตากสิน  พญ.พัชรี ขันติพงษ์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย นางจิตราภรณ์ รักษาวงศ์ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย Dr.Sara Whitehead Thailand MOPH-U.S. CDC Collaboration ดร.วณิชยา กิตติไกรศักดิ์, น.ส.จลินธร สินธุวัฒนวิบูลย์ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข

ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ทีมนักวิจัยในหลายๆ ประเด็นเพื่อให้ผลงานวิจัยเรื่องนี้มีประสิทธิภาพในการนำไปผลักดันสู่ระดับนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงเก็บข้อมูลในเรื่อง Program cost ในโรงพยาบาลชุมชน การศึกษาจำนวนปีการรอดชีวิตโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยวัณโรค ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีวัณโรคร่วมกำลังได้รับการรักษาที่น่าจะเป็นไปได้ รวมทั้งการอภิปรายถึงวิธีการวินิจฉัยทั้ง 3 วิธี ที่มีความแตกต่างในการวินิจฉัยด้วยการทำ Culture สำหรับนำไปศึกษาการประเมินความคุ้มค่าในการวินิจฉัยต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการตรวจวินิจฉัยและการรักษา หากมีการตรวจพบวัณโรคได้รวดเร็วและถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของโรคด้วย

หลังจากที่งานวิจัยชิ้นนี้ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะมีการนำเสนอให้กับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ ดังนั้นในที่ประชุมจึงเสนอว่าควรนำผลงานวิจัยนี้เสนอไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อผลักดันในระดับนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารของกรมควบคุมโรค, กรมแพทย์ ซึ่งดูแลสถานบริการในเขตกรุงเทพฯ, ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์, โรงเรียนแพทย์, สำนักวัณโรค/สำนักโรคเอดส์ กรมควบคุมโรค และผู้ป่วยโรคเอดส์ เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

14 กันยายน 2552

Next post > นักวิจัย HITAP ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโครงการ “ประเมินผลสัมฤทธิ์และปัจจัยที่มีผลต่อการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smears และ Visual Inspection with Acetic (VIA)” ที่จ.เชียงใหม่

< Previous post การประเมินนโยบายการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด