logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 ทีมนักวิจัยใน “โครงการประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของการใช้ยาต้านไวรัสสูตรยา 3 ตัว เป็นสูตรมาตรฐานของการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในประเทศไทย” โดย ภญ.พิศพรรณ วีระยิ่งยง, ศ.ดร.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ และดร. นพ.ยศ  ตีระวัฒนานนท์ นำเสนอผลงานวิจัยในโครงการฯ  แก่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเอดส์ในแม่และเด็ก โดยมี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกับสมาคมโรคเอดส์ กรมอนามัย และ HITAP ณ ห้องประชุมกำธรสุวรรณกิจ อาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อประเมินความคุ้มค่าของการใช้ยาต้านไวรัสสูตร 3 ตัว เปรียบเทียบกับยาต้านไวรัสสูตร AZT+sd-NVP ในการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในประเทศไทย กรณีที่หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส คือ CD 4 มากกว่าหรือเท่ากับ 250 และศึกษาความเป็นไปได้ ความเหมาะสมของการปรับเปลี่ยนสูตรยามาตรฐาน ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2550 สำหรับการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในประเทศไทย เป็นยาต้านไวรัสสูตร 3 ตัว

สำหรับวิธีการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ ด้วยการสร้างแบบจำลองการตัดสินใจ (Decision analytic model) ข้อมูลต้นทุนและประสิทธิผลของการให้ยาต้านไวรัสทั้ง 2 สูตรได้จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบทั้งในและต่างประเทศ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational research) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้/ความเหมาะสมของการให้ยาต้านไวรัสสูตร 3 ตัว โดยใช้สูตรยา AZT+3TC+LPV/r ในการศึกษา โดยศึกษาในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งในจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสตูล และจังหวัดสระแก้ว และการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบไปด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในระดับปฏิบัติการและประสานงาน

สำหรับผลของการศึกษาในเรื่องการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ โดยใช้แบบจำลอง การใช้ยาสูตร 3 ตัว ซึ่งมีการใช้ยา EFV และ LPV/r เป็นทางเลือกในการประเมินสูตรยา 3 ตัว เปรียบเทียบกับสูตร 2 ตัว พบว่าการใช้ยาสูตร 3 ตัว มีความคุ้มค่ามากกว่า โดยยาสูตร AZT+3TC+EFV ให้ความคุ้มค่ามากกว่ายาสูตร AZT+3TC+LPV/r ในการศึกษาความเป็นไปได้พบว่าหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65) ไม่มีปัญหาในการกินยา มีบางรายที่ให้ความคิดเห็นว่ามีความยากในกินยาแต่เมื่อมารับยาครั้งต่อไปก็สามารถปรับตัวได้ แต่มีเพียง 1 รายเท่านั้นที่ต้องเปลี่ยนเป็นสูตรยา EFV เพราะรู้สึกไม่สุขสบายเมื่อกินยา LPV/r ได้ และการปรับเปลี่ยนยาสูตร 2 ตัว เป็นยาสูตร 3 ตัวมีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากมิได้เพิ่มภาระการทำงาน หรือมิได้ทำให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงานเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาสูตร 2 ตัว แต่อย่างไรก็ตามควรมีระบบหรือกลไกในการให้ความช่วยเหลือหากเกิดปัญหา และจัดเตรียมเครื่องมือที่สามารถอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานได้

ซึ่งจากผลงานวิจัยดังกล่าว ทาง HITAP ได้เสนอแนะข้อเสนอในเชิงนโยบายแก่ที่ประชุมว่า ควรมีการเปลี่ยนการให้ยาจากสูตร 2 ตัว เป็นสูตร 3 ตัว นอกจากนั้นควรมีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการอบรมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เข้าใจแนวทางและใช้เครื่องมือที่ทีมวิจัยได้พัฒนาขึ้น และควรติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานหลายประการ

12 ตุลาคม 2552

Next post > HITAP จัดประชุมเพื่อกำหนดกรอบและคำถามการวิจัยโครงการ “การประเมินนโยบายบัญชียา จ ข้อย่อยสอง ของบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551”

< Previous post HITAP จัดการอบรมเรื่อง “การวิจัยเชิงคุณภาพ” เพื่อปรับพื้นฐานความรู้และเตรียมความพร้อมทีมนักวิจัยก่อนลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัย

Related Posts

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด