logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

          เมื่อวันที่  9 มกราคม 2557 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อโครงร่างวิจัยเรื่องการประเมินความคุ้มค่าด้านสุขภาพของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA ในประเทศไทย  ณ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

          การประชุมดังกล่าวมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะต่อโครงร่างวิจัย  ได้แก่ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ   สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย  สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเวชภัณฑ์ 

          ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการอภิปรายเพื่อคัดเลือกวิธีการใช้การตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี  HPV DNA ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งหมด 3 ทางเลือก ได้แก่

1. การตรวจ HPV DNA พร้อมกับ liquid based cytology เป็นการตรวจในขณะเดียวกัน (co-testing) ) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่ดำเนินการกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน                                                                                     

2. การตรวจ HPV DNA เป็นลำดับแรก ในกรณีที่พบผลผิดปกติแล้วทำการตรวจด้วย liquid base cytology  โดยใช้ specimen ที่เก็บเพื่อตรวจ HPV DNA เนื่องจากในการตรวจ HPV DNA จะมีการเก็บ specimen อยู่แล้ว และการตรวจด้วย HPV DNA นั้นควรตรวจเป็นลำดับแรกเนื่องจากเป็นการตรวจที่สามารถ detect กลุ่มเสี่ยงได้สูง                                                                                                                    

3. การตรวจด้วย Conventional Pap smears ในกรณีที่พบผลผิดปกติจึงทำการตรวจด้วย HPV DNA ในกรณีที่พบผลผิดปกตผลที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้

นักวิจัย HITAP จะนำข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญคือ ข้อมูลการตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี  HPV DNA 3 ทางเลือก  ไปศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยเปรียบเทียบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smears ซึ่งเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่ใช้ในปัจจุบันและสามารถเบิกจ่ายได้

31 มกราคม 2557

Next post > HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญกำหนดหัวข้อวิจัยของ การประเมินความคุ้มค่าของการคัดกรองโรคทางตาในกลุ่มอายุต่างๆ ในประชากรไทย

< Previous post HITAP ร่วมหารือ แนวทางการพัฒนางานด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของเวียดนาม

Related Posts

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด