logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

2.กันล้ม-01

ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่ช้า และในปัจจุบัน ผู้สูงอายุไทยมีจำนวนมากกว่า 9,928,000 คน ซึ่งคิดเป็น 18% ของประชากรไทยทั้งหมด และสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุเข้าสู่สภาวะพึ่งพิงคนในครอบครัว
ก็คือ การหกล้มและภาวะสมองเสื่อม

ภาวะการหกล้มของผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 และ 85 ปีเท่ากับ 30% และ 50% ตามลำดับ
ซึ่งในการหกล้มในแต่ละครั้งของผู้สูงอายุ อาจมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง
เช่น กระดูกสะโพกหักหรือกระดูกข้อมือหัก หรือหลอดเลือดในสมองออก ซึ่งอาจนำไปสู่การพิการหรือเสียชีวิต

ส่วนอัตราโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุของประเทศไทย อยู่ที่ 1% ในผู้สูงอายุ 60 ปี และจะมากขึ้นเรื่อยๆ
ตามช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้นจนถึง 30% ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 90 ปี
ซึ่งในที่นี้ 60-80% ของผู้ป่วยสมองเสื่อมจะถูกวินิจฉัยเป็น Alzheimer disease

มาตรการที่จัดขึ้นนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ หามาตรการป้องกันการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะเสี่ยงทั้งสองนี้ด้วยตนเอง ทั้งด้านการบริหารร่างกายด้วยตนเองตามหนังสือคู่มือ “กันล้ม” ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้
และการหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่ใช่ทางรักษาหลักเสมอไป

และในตอนท้ายของการอภิปรายผล ผู้เชี่ยวชาญได้สรุปและให้ข้อเสนอแนะดังนี้
– ผู้เชี่ยวชาญเสนอว่า ให้ผู้วิจัยทำการขยายผลการศึกษาที่ได้มาจากมาตรการนี้
– เน้นให้มาตรการนี้เข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับประโยชน์
– หาทางแนะนำ ให้ผู้สูงอายุเข้ากลุ่มกันสร้างชมรม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติการบริหารร่วมกัน
ซึ่งจะได้ผลมากกว่าการทำคนเดียวมากหลายเท่า
– แนะนำเรื่อง”ยา” ที่ไม่ใช่ทางรักษา อย่างที่ผู้สูงอายุหลายคนเข้าใจ
– ให้กรมอนามัยช่วยเผยแพร่ ผลการศึกษา/มาตรการ นี้ให้กระจายไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

ติดตามเอกสารสรุปการประชุมได้ที่ www.hitap.net/research

10 พฤศจิกายน 2557

Next post > HITAP และ IHPP จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพ และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เข้าสู่การประเมินและพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกันถ้วนหน้ารอบที่ 2/2557

< Previous post HITAP จัดประชุมคณะทำงานพิจารณาผลการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นในการจัดทำ “ข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

Related Posts

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด