logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP รายงานความก้าวหน้าต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส เพื่อพัฒนาศักยภาพการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพครั้งที่ 1/2558

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558 HITAP จัดประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการเมธีวิจัยอาวุโส เพื่อพัฒนาศักยภาพการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 โดยมีคณะกรรมการโครงการเมธีวิจัยอาวุโสเข้าร่วมรับฟังหลายท่าน อาทิ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช , ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล , ภญ.เนตรนภิส สุชนนวนิช , นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ , นางวรรณา เอียดประพาล , น.ส.ภคมน ศิลานุภาพ และ ภญ.นิพัทธ์ สุขแสนสำราญ เป็นต้น

HITAP โดย ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ เมธีวิจัยอาวุโสด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program – HITAP) ได้รับการสนับสนุนจากโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ดำเนินการด้านพัฒนาศักยภาพการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

การประชุมในครั้งนี้ HITAP นำเสนอถึงความก้าวหน้าของโครงการวิจัย 4 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการประเมินความคุ้มค่าที่ HITAP ทำข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจให้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยพัฒนาศักยภาพนักวิจัยใน
การทำข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระดับนโยบาย โดยงานวิจัยที่นำเสนอมีรายละเอียดดังนี้

1.การประเมินความคุ้มค่าของการรักษาเสริมโดยใช้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจายที่ผ่าตัดได้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการรักษาด้วยสูตร FOLFOX แล้วตามด้วยการรักษาแบบประคับประคองนั้นมีความคุ้มค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการรักษาอื่นๆ หลังจากนี้ จะมีการเสนอให้ต่อรองราคายาในสูตร FOLFOX และขยายเงื่อนไขการใช้ยา oxaliplatin (สูตร FOLFOX) ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจายหลังผ่าตัดต่อไป

2.การประเมินความคุ้มค่าของยา imatinib สำหรับการรักษาเสริมในผู้ป่วยโรคมะเร็งเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหาร (GIST) ที่ได้รับการผ่าตัดและมีโอกาสเกิดโรคซ้ำสูง ผลการศึกษาพบว่า การรักษาเสริมโดยใช้ adjuvant imatinib ในผู้ป่วย GIST ที่ได้รับการผ่าตัดและมีโอกาสในการเกิดโรคซ้ำสูง ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

3.การประเมินความคุ้มค่าของการใช้ยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคในกลุ่มสารชีวภาพเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ พบว่า การใช้ DMARDs มาตรฐานมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด และไม่มีสารชีวภาพชนิดใดที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ หากจะพิจารณาคัดเลือกยาในกลุ่มนี้เข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ ควรมีการต่อรองราคายา

4.การประเมินความคุ้มค่าของยา Iodized oil fluid injection (Lipiodol®Ultra Fluid ) สำหรับการรักษามะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) พบว่า การรักษาด้วย TACE โดยใช้ iodized oil fluid injection และ drug eluting beads ในปัจจุบันไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าราคาของยา Iodized oil fluid injection และ drug eluting beads ลดลงเท่ากับศูนย์บาทแล้วก็ตาม

9 เมษายน 2558

Next post > Stent และ Balloon เพื่อผู้ป่วยหัวใจหลอดเลือด พบปัญหาแพทย์ไม่ใช้-รพ.ซื้อตามราคากำหนดไม่ได้ ส่งผลค่าใช้จ่ายพุ่ง เสนอใช้หลักฐานทางวิชาการ หาทางแก้

< Previous post รอง รมต.สธ เวียดนามและเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามเยี่ยมชม HITAP และดูความเป็นไปได้ในการสร้างหน่วยงาน HTA ของเวียดนาม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด