logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมผู้เชี่ยวชาญใช้ชุดตรวจภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ในผู้ป่วยมาลาเรียคุ้มค่าหรือไม่

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 HITAP ได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอผลการศึกษาเรื่องการนำชุดตรวจภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD มาใช้ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (point-of-care) ในการรักษาโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันด้านนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการเตรียมการที่จำเป็นหากมีการนำชุดตรวจดังกล่าวมาพัฒนาเป็นบริการ

การประชุมจัดขึ้น ณ โรงแรมริชมอนด์สไตลิชคอนเวนชั่นโฮเทล นนทบุรี โดยมีนักวิจัยจาก HITAP PATH และ Shoklo Malaria Research Unit นำเสนอผลการศึกษาต่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค และองค์การอาหารและยา Mahidol-Oxford Tropical Medicine Research Unit และ PATH

ที่ประชุมมีการวิเคราะห์สถานการณ์ของชุดตรวจภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD สำหรับการรักษาโรคไข้มาลาเรียชนิด P. vivax และภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ในประเทศไทย โดยเน้นเรื่องนโยบายที่เกี่ยวกับชุดตรวจภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD แนวทางเวชปฏิบัติ การพิจารณาการตรวจและการรักษา

นอกจากนี้ยังที่ประชุมยังอภิปรายเรื่องความแตกต่างของภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ในประชากรชายและหญิง การศึกษาต้นทุนประสิทธิผลเรื่องชุดตรวจภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD และ GeoDX model ซึ่งเป็นโปรแกรมประมาณการจำนวนของชุดตรวจภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ที่จะต้องใช้รักษาโรคไข้มาลาเรียชนิด P. vivax

อย่างไรก็ตามที่ประชุมให้ข้อเสนอแนะว่า หากมีการนำชุดตรวจภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD มาใช้ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (point-of-care) ในการรักษาโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย ควรออกแบบให้ใช้งานง่าย ทนต่ออุณหภูมิในประเทศไทยและราคาไม่แพง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการและมีความปลอดภัยจากการใช้ยามากขึ้นในอนาคต

ติดตามอ่าน สรุปประชุมผู้เชี่ยวชาญได้ที่ https://www.hitap.net/research/167892

11 กรกฎาคม 2560

Next post > นักวิจัย HITAP - ภูฏานวิเคราะห์ข้อมูลวัคซีน Pneumococcal Conjugate

< Previous post เตรียมฉีดวัคซีนเอชพีวีส.ค.นี้

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด