logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการงานวิจัยประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยา

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563 HITAP ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานของโครงการวิจัย เรื่อง “การประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล” ณ ห้องประชุม 1 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

โครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล มีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาความแออัดภายในโรงพยาบาลรัฐบาลที่มีผู้ป่วยมาใช้บริการจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี จนทำให้ผู้ป่วยทั้งที่มีปัญหารุนแรงมากและน้อยต่างก็ต้องใช้เวลานานในโรงพยาบาล ไม่ใช่แค่การรอวินิจฉัยโรค แต่รวมถึงการรอรับยาด้วย ส่งผลต่อการเข้าถึงการตรวจรักษา คุณภาพในการให้บริการ และความพึงพอใจของผู้ป่วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2560 กระทรวงสาธารณสุขประกาศนโยบายลดความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ โดยหนึ่งในมาตรการลดความแออัดคือ การที่ผู้ป่วยไม่ต้องรอรับยาภายในโรงพยาบาลแต่ให้ผู้ป่วยนำใบสั่งยารับยาที่ร้านขายยาซึ่งได้มาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถเลือกรับยาจากโรงพยาบาลหรือร้านขายยาได้ตามความสมัครใจ

โครงการนำร่องนี้ได้เริ่มดำเนินการทั่วประเทศในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยระยะแรกดำเนินการพัฒนาระบบบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีโรงพยาบาล 50 แห่ง พร้อมเครือข่ายร้านขายยาคุณภาพ 500 แห่งทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ โดยเน้นจ่ายยาให้ผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตเวช และโรคหืดหรือโรคเรื้อรังที่ไม่มีความซับซ้อนในการดูแล

ในการนี้ HITAP ได้รับมอบหมายให้ทำการประเมินผลและติดตามโครงการนำร่องดังกล่าว รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อใช้ในการปรับปรุงโครงการในอนาคต ทีมวิจัย HITAP ได้เชิญตัวแทนนักวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เข้าร่วมประชุมและรับฟังการชี้แจงแนวทางการดำเนินการวิจัย พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแผนการดำเนินการวิจัย

29 มกราคม 2563

Next post > HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญนำเสนอผลการศึกษาทบทวนระบบและพัฒนาข้อเสนอการบริหารยาจำเป็น

< Previous post HITAP ต้อนรับคณะผู้บริหารด้านสาธารณสุขอินเดียศึกษาดูงานเรื่อง HTA

Related Posts

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด