logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมแสดงความเห็นต่อโครงร่างการศึกษาการประเมินความคุ้มค่าฯ และผลกระทบด้านงบประมาณของยา sofosbuvir ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 58 นักวิจัยในโครงการ การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ และผลกระทบด้านงบประมาณของยา sofosbuvir ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรม และนำเสนอโครงการการวิจัยสำหรับการประเมินความคุ้มค่า ซึ่งกำลังจะดำเนินการ และคาดว่าจะเสร็จสิ้น เดือน ธันวาคม 58

ภญ.ธันธิมา สุวรรณถาวรกุล นักวิจัยในโครงการฯ นำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมถึงประสิทธิผลของยาในกลุ่ม Direct Acting Antiviral (DAAs)พบว่า การรักษาด้วยยา DAAs ร่วมกับ pegylated-interferon หรือ PR ให้ประสิทธิผลที่ดีกว่าการรักษาด้วย PR อย่างเดียว และยังพบว่ายาสูตรที่ไม่มี PR เป็นองค์ประกอบก่อให้เกิดอาการข้างเคียงน้อยกว่ายาสูตรที่มี PR เป็นองค์ประกอบ ทั้งนี้ยากลุ่ม DAAs ได้แก่ โซฟอสบูเวียร์ (sofosbuvir) ไซมิพรีเวียร์ (semiprevir) และ ดาคลาทาสเวียร์ (daclatasvir) อย่างไรก็ตามยากลุ่ม DAAs มีราคาแพงเนื่องจากเป็นยาใหม่ HITAP ได้รับมอบหมายจากคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้ทำการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และผลกระทบด้านงบประมาณของยา sofosbuvir ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง

ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญเสนอให้เพิ่มเงื่อนไขการศึกษาทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย โดยมีเงื่อนไขการรักษาทั้งในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการรักษาด้วยยามาก่อน และในผู้ป่วยที่เคยล้มเหลวจากการได้รับยาสูตร PR โดยเปรียบเทียบ 4 ทางเลือกการรักษา คือ PR, SOF+PR, SOF+DCV, และ SOF+LDV

31 สิงหาคม 2558

Next post > คณะกรรมการกำกับทิศ โครงการ QoF เลือก 5 ปัญหาสุขภาพ เพื่อนำไปพัฒนาตัวชี้วัด

< Previous post ผู้เชี่ยวชาญร่วมประชุม พัฒนาโครงการ “ชัดแจ๋ว ตรวจตาเด็ก เพื่ออนาคตไทย”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด